Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1965
Title: PRINCIPLES OF SAW-U VARIATION IN KRUENGSAI, KRUENGSAI PICHAWA AND PIPAT MAINUAM ENSEMBLE BY KRU LERKIAT MAHAVINIJCHAIMONTRI
การศึกษาหลักการแปรทำนองซออู้ในวงเครื่องสาย วงเครื่องสายปี่ชวาและวงปี่พาทย์ไม้นวม ของครูเลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี
Authors: THANAKORN NAMWONG
ธนกร นามวงษ์
Tepika Rodsakan
เทพิกา รอดสการ
Srinakharinwirot University
Tepika Rodsakan
เทพิกา รอดสการ
tepika@swu.ac.th
tepika@swu.ac.th
Keywords: บทบาทและหน้าที่ของซออู้
หลักการแปรทำนองซออู้
ซออู้
Roles and Duties of Saw-U
Principles of Saw-U Variation
Saw-U
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this study are to investigate the principles of Saw-U variation in Kruengsai, Kruengsai Pichawa, and Piphat Mainuam ensemble by Kru Lerkiat Mahavinijchaimontri and to explore the roles and duties of Saw-U by studying the Saw-U melody, as composed and performed by Kru Lerkiat Mahavinijchaimontri in the Ok Talay Samchan and Nok Kamin Samchan songs for the Kruengsai, Kruengsai Pichawa, and Piphat Mainuam ensemble. It shows that there are four principles of Saw-U variation: (1) the principles of the ensemble genres. In the Kruengsai ensemble, performers can freely make variations and more exciting melodies. In the Kruengsai Pichawa, performers should consider about the way of placing their fingers differently. In the Piphat Mainuam ensemble, performers should play as neatly as possible, according to the main melody and the variation melody in Piphat culture; (2) the principles of the song genres.  The performers should consider the similarity of core notes and the scale between Saw-U and main melody. The melodic direction may differ from the main melody due to limitations in the sound field. In addition, performers should use a melodic style, melodic rhyming, and playing tactics to help make the melody more interesting; (3) the principles of timing, the performer should consider melodic variation that is appropriate for the situation and the abilities of their co-performers, as well as restraint in terms of harmony with the other instruments; and (4) the principles of emotion, the melody should be performed in accordance with the mood of the song to communicate the intention of the composer. In terms of the roles and duties of Saw-U, it was found that Saw-U plays a role in creating lively melody in the ensemble, making it more mellow and balancing the sound of the Kruengsai Pichawa ensemble, a Kruengtarm melody in Ok Talay Samchan song and a Wah-dork melody in a Nok Kamin Samchan song, in a supporting rhythm section, indicating the abilities of a performer, reflecting the identity of their music, broadening the scope of the melodic variation, and reflecting Thai etiquette.
การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการแปรทำนองซออู้ในวงเครื่องสาย วงเครื่องสายปี่ชวา และวงปี่พาทย์ไม้นวมของครูเลอเกียรติ  มหาวินิจฉัยมนตรี  และเพื่อศึกษาบทบาทและหน้าที่ของซออู้ โดยศึกษาจากทำนองซออู้ที่ครูเลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรีเป็นผู้บรรเลงด้วยตนเอง และทำนองที่เรียบเรียงขึ้นในเพลงอกทะเล  สามชั้น และเพลงนกขมิ้น  สามชั้นสำหรับใช้บรรเลงในวงเครื่องสาย  วงเครื่องสายปี่ชวา  และวงปี่พาทย์ไม้นวม ผลจากการศึกษาพบว่า ครูเลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรีมีหลักการแปรทำนองซออู้ 4 หลักการ ได้แก่  1. หลักการแปรทำนองซออู้ที่มีผลมาจากประเภทวง    โดยในวงเครื่องสายผู้บรรเลงสามารถแปรทำนองได้อย่างอิสระ และดำเนินทำนองในลักษณะโลดโผน การแปรทำนองซออู้ในวงเครื่องสายปี่ชวาผู้บรรเลงต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนระดับเสียง ทำให้มีวิธีการวางนิ้วที่มีรายละเอียดแตกต่างไปจากการวางนิ้วในวงดนตรีประเภทอื่น การแปรทำนองซออู้ในวงปี่พาทย์ไม้นวมควรมีลักษณะเรียบร้อย ใกล้เคียงกับทำนองหลักมากที่สุดเพื่อให้สอดคล้องกับทำนองแปรในวัฒนธรรมปี่พาทย์     2. หลักการแปรทำนองซออู้ที่มีผลมาจากประเภทเพลง ผู้บรรเลงควรคำนึงถึงการแปรทำนองที่มีลูกตก และบันไดเสียงสอดคล้องกับทำนองหลัก โดยอาจพบทิศทางการเคลื่อนที่ของทำนองที่แตกต่างจากทำนองหลักเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องขอบเขตเสียง    นอกจากนี้ผู้บรรเลงควรเลือกใช้ลีลาทำนอง   สำนวนกลอน   และกลวิธีการบรรเลงให้เหมาะสมเพื่อช่วยให้ทำนองซออู้มีความน่าสนใจมากขึ้น  3. หลักการแปรทำนองซออู้ที่มีผลมาจากกาลเทศะในการบรรเลง   ผู้บรรเลงควรคำนึงถึงการแปรทำนองที่มีเหมาะสมกับสถานการณ์ในการบรรเลง       และผู้ร่วมบรรเลงควรมีความยับยั้งชั่งใจและแปรทำนองให้เกิดความกลมกลืนกับทำนองเครื่องดนตรีอื่นมากที่สุด 4. หลักการเรื่องอารมณ์ ผู้บรรเลงควรดำเนินทำนองให้สอดคล้องกับอารมณ์เพลงเพื่อสื่อสารเจตนารมย์ของผู้ประพันธ์ออกมาให้ใกล้เคียงที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าซออู้มีบทบาทของการสร้างความสนุกสนานในวงดนตรี การช่วยเพิ่มความกลมกล่อมในวงดนตรี การช่วยรักษาสมดุลเสียงในวงเครื่องสายปี่ชวา การเป็นเครื่องตามในเพลงอกทะเล สามชั้น การว่าดอกเพลงนกขมิ้น สามชั้น การสนับสนุนแนวการบรรเลง การแสดงชั้นเชิงของผู้บรรเลง การสะท้อนสายสำนักของผู้บรรเลง การสะท้อนตัวตนของผู้บรรเลง การขยายขอบเขตการแปรทำนอง และการสะท้อนมารยาทไทย
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1965
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621110127.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.