Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1858
Title: ATTITUDE BRAND IMAGE AND WORD OF MOUTH ARE RELATED TO THE DECISION TO BUY BRAND NAME BAGS OF GENERATION Y IN BANGKOK METROPOLITAN
ทัศนคติ ภาพลักษณ์ และการสื่อสารแบบปากต่อปาก ที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมประเภทกระเป๋า ของเจเนอเรชั่น วาย ในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: TEERISARA LEKKRUASUWAN
ธีริศรา เล็กเครือสุวรรณ
Wasan Sakulkijkarn
วสันต์ สกุลกิจกาญจน์
Srinakharinwirot University
Wasan Sakulkijkarn
วสันต์ สกุลกิจกาญจน์
wasan@swu.ac.th
wasan@swu.ac.th
Keywords: ทัศนคติ
ภาพลักษณ์
การสื่อสารแบบปากต่อปาก
การตัดสินใจซื้อ
Attitude
Brand Image
Word of Mouth
Decision to Buy
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research are to study the attitude, brand image and word of mouth related to decisions to buy brand name bags among members of Generation Y in the Bangkok metropolitan area. A total of 400 sets of questionnaires were used as a tool for data collection and a total of 395 useable questionnaires were obtained for statistical analysis. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, an independent t-test, One-Way Analysis of Variance and the Pearson correlation coefficient. The results of this research are as follows: (1) the majority of members of Generation Y were female, aged 25 to 28 years, single, occupied as company employees, held a Bachelor’s degree or equivalent and earned an average monthly income of 20,001 to 30,000 Baht. Most members of Generation Y had opinions about attitude, brand image, word of mouth and decisions to buy at a high level; (2) members of Generation Y of different ages, occupation and average monthly income with a significance of 0.05; (3) the factor of attitude positively correlated with the decision to buy brand name bags with a significance of 0.01 at a moderate level; (4) the brand image positively correlated with the decision to buy brand name bags with a significance of 0.01 at a high level; (5) the word of mouth positively correlated with the decision to buy brand name bags with a significance of 0.01 at a high level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาทัศนคติ ภาพลักษณ์ และการสื่อสารแบบปากต่อปาก ที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมประเภทกระเป๋า ของเจเนอเรชั่น วาย ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล จำนวนทั้งสิ้น 400 ฉบับ โดยมีแบบสอบถามที่สมบูรณ์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ผลการวิจัย จำนวน 395 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1. เจเนอเรชั่น วาย ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง มีอายุ 25-28 ปี สถานภาพโสด อาชีพพนักงานบริษัท ระดับการศึกษาปริญญาตรี หรือ เทียบเท่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ ทัศนคติ ภาพลักษณ์ การสื่อสารแบบปากต่อปาก และการตัดสินใจซื้อโดยรวม อยู่ในระดับมาก 2. เจเนอเรชั่น วาย ที่มีอายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ทัศนคติโดยรวม มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์เนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ระดับความสัมพันธ์ปานกลาง 4. ภาพลักษณ์โดยรวม มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์เนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ระดับความสัมพันธ์สูง 5. การสื่อสารแบบปากต่อปากโดยรวม มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์เนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ระดับความสัมพันธ์สูง
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1858
Appears in Collections:Faculty of Business administration for society

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130180.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.