Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1831
Title: INTEGRATED MARKETING COMMUNICATION AND TRUST INFLUENCINGCONSUMER BEHAVIOR IN SELECTING RESTAURANT DURINGTHE NEW NORMAL ERA IN BANGKOK
การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและความไว้วางใจที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการร้านอาหารในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: PATIMA KERDNOO
ปฏิมา เกิดหนู
Varintra Sirisuthikul
วรินทรา ศิริสุทธิกุล
Srinakharinwirot University
Varintra Sirisuthikul
วรินทรา ศิริสุทธิกุล
varintra@swu.ac.th
varintra@swu.ac.th
Keywords: การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ
ความไว้วางใจ
พฤติกรรมผู้บริโภค
ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่
integrated marketing communication
trust
consumer behavior
the new normal era
Issue Date:  27
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objective of this research is to study the factors of integrated marketing communication and trust influencing consumer behavior in selecting restaurants during the new normal era in Bangkok. The samples used in this study are 400 consumers using restaurants at department stores in Bangkok. This research used a questionnaire to collect the data and the data analysis indicated the percentage, mean, standard deviation, a t-test and Multiple Regression Analysis (MRA), with a statistical significantly at a level of .05. The results of the research found that the opinions of consumers on the integrated marketing communication at a good level and trust in restaurants in department stores at the highest level: (1) the demographic characteristics of consumers consisted of different ages and occupations, chose to use restaurant services in restaurants during the new normal era in Bangkok, which differed in frequency over a three-month period and a statistical significance of 0.05; (2) consumers with demographic characteristics consisted of occupations and average monthly income and different behaviors in terms of choosing to use restaurant services in new lifestyle style consumer malls in Bangkok in terms of average cost per time at a statistically significant level of 0.05; (3) opinions on integrated marketing communications included public relations, promotion and word-of-mouth communication influencing consumer behavior in selecting restaurants during the new normal era in Bangkok for frequency per time in three months at a statistically significant level of 0.05; and (4) consumer opinions on trust in restaurants in department stores influencing on consumer behavior in selecting restaurants during the new normal era in Bangkok for frequency per time in three months at a statistically significant level of 0.05.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและความไว้วางใจที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการร้านอาหารใน ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านอาหาร ในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และได้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยใช้ค่าสถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยวิธีทางตรง (Enter) ผลการศึกษาพบว่า  ผู้บริโภคได้ให้ความเห็นต่อการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ ในระดับดี และความไว้วางใจต่อร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า ความไว้วางใจอยู่ในระดับมากที่สุด (1) ผู้บริโภคที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ประกอบด้วย อายุ และอาชีพ ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านอาหาร ในห้างสรรพสินค้าของผู้บริโภค ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ ในเขตกรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน ในด้านความถี่ต่อครั้งในสามเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้บริโภคที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ประกอบด้วย อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านอาหาร ในห้างสรรพสินค้าของผู้บริโภค ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ ในเขตกรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน ในด้านค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อครั้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ผู้บริโภคมีความคิดเห็นต่อการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ ได้แก่ ด้านการประชาสัมพันธ์ , ด้านการส่งเสริมการขาย และด้านการสื่อสารแบบปากต่อปาก มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าของผู้บริโภค ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ ในเขตกรุงเทพมหานคร ในด้านความถี่ต่อครั้งในสามเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ผู้บริโภคมีความคิดเห็นต่อความไว้วางใจต่อร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า ได้แก่ ด้านความน่าเชื่อถือ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าของผู้บริโภค ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ ในเขตกรุงเทพมหานคร ในด้านความถี่ต่อครั้งในสามเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1831
Appears in Collections:Faculty of Business administration for society

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621130251.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.