Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1776
Title: | A STUDY OF SELF-CONTROL PROCESS: A CASE STUDYOF JUVENILE’S NOT OFFENDING RECIDIVISM DEPARTMENTOF PROBATION BANGKOK 11 การศึกษากระบวนการควบคุมตนเอง: กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนที่ไม่กระทําผิดซ้ำสำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร11 (ศาลเยาวชนและครอบครัว) |
Authors: | TUSSANEE HEIMWATTHAKIT ทรรศนีย์ เหมวัตถกิจ Napattararat Chaiakkarakan ณภัทรรัตน์ ไชยอัครกัลป์ Srinakharinwirot University Napattararat Chaiakkarakan ณภัทรรัตน์ ไชยอัครกัลป์ napattararatc@swu.ac.th napattararatc@swu.ac.th |
Keywords: | เด็กและเยาวชนที่กระทำผิด การไม่กระทำผิดซ้ำ เด็กและเยาวชนที่ไม่กระทำผิดซ้ำ การควบคุมตนเอง Juvenile’s Offending Not Offending Recidivism Juvenile’s Offending not Offending Recidivism Self-Control |
Issue Date: | 8 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This study is qualitative research with the following aims: (1) to identify the self-control process who were offenders, but not recidivists; and (2) to find a guideline for counseling for staff on the extension of the self-control among juvenile offenders. The tool used in this research included in-depth interviews with key informants, consisting of eight juveniles, who were offenders, but not recidivists. Their age at the time of committing offenses were between 15 to 18 years. The court had issued a judgment or an order for the child or youth to attend training in the Youth Training Center under the authority of the Bangkok Probation Office, Area 11 without a record of recidivism after being released for more than one year, and is a probation officer who has been successful in providing counseling. Awarded mentoring at various levels received good reviews from individuals or organizations who act as consultants, total of 6 people. The data used content-based analytics and performed tool validation with the triangulation technique. The research instrument was a semi-structured interview to study the process of self-control among the informants. The data analysis included data management, data display, and data explanation. The results of this research showed that the self-control process consists of three steps: situational awareness in order to not commit wrongdoing, avoidance of offending, and behavioral change. A guideline for counseling of self-control extension personnel in juveniles consisted of three steps: preparation before consulting, understanding the root cause, and action and follow-up. The research results may be used as an appropriate guideline for effective juvenile counseling. งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อค้นหากระบวนการควบคุมตนเองของเยาวชนที่ไม่กระทำผิดซ้ำ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการให้คำปรึกษาของเจ้าหน้าที่สำหรับส่งเสริมการควบคุมตนเองในเด็กและเยาวชน เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก เกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 คือ เยาวชนที่เป็นผู้กระทำผิดแต่ไม่กระทำผิดซ้ำ ที่มีอายุขณะกระทำความผิด 15 ปีแต่ไม่เกิน 18 ปี ซึ่งศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เยาวชนเข้ารับการฝึกอบรมในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนพื้นที่สำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 11 (ศาลเยาวชนและครอบครัว) และไม่มีประวัติการกระทำผิดซ้ำหลังจากได้รับการปล่อยตัวเป็นระยะเวลา 1 ปีขึ้นไป จำนวน 8 ราย และเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 คือ เจ้าหน้าที่คุมความประพฤติที่ผ่านการอบรมหรือมีประสบการณ์ และมีความรู้ ความสามารถในการให้คำปรึกษาเด็กและเยาวชน และปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน เพื่อควบคุม แก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด สำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 11 (ศาลเยาวชนและครอบครัว) และเป็นเจ้าหน้าที่คุมความประพฤติที่ประสบความสำเร็จในการให้คำปรึกษา อาทิ หลังจากให้คำปรึกษาแล้วเด็กและเยาวชนไม่กระทำผิดซ้ำ ได้รับรางวัลการให้คำปรึกษาในระดับต่างๆ ได้รับคำนิยมจากบุคคลหรือองค์กรในการทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษา จำนวนทั้งหมด 6 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแนวคำถามสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อศึกษากระบวนการควบคุมตนเอง โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและทำการตรวจสอบเครื่องมือด้วยการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การจัดการข้อมูล การแสดงข้อมูล และการอธิบายข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการที่นำมาสู่การควบคุมตนเองของเยาวชนที่ไม่กระทำผิดซ้ำ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ การรู้เท่าทันสถานการณ์ล่อลวงเพื่อไม่ให้กระทำผิด การเลือกมองในมุมมองใหม่ และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยแนวทางการให้คำปรึกษาสำหรับส่งเสริมการควบคุมตนเองในเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมการก่อนให้คำปรึกษา ทำความเข้าใจสาเหตุหลัก ดำเนินการและติดตามผล โดยผลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการให้คำปรึกษาเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมต่อไป ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการศึกษาเด็กและเยาวชนที่ไม่กระทำผิดซ้ำในฐานความผิดเดิมหรือฐานความผิดอื่นๆ หลังจากได้รับการปล่อยตัวเป็นระยะเวลา 1 ปีขึ้นไป ในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการจำแนกระยะเวลาการไม่กลับมากระทำผิดซ้ำ หลังจากได้รับการปล่อยตัวระยะเวลา 1 ปี 2 ปี และ 3 ปี เพื่อศึกษาความแตกต่างอย่างชัดเจนในแต่ละช่วงเวลา และจากผลการวิจัยในครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ออกแบบการวิจัยเชิงทดลอง ที่พัฒนาโปรแกรมการให้คำปรึกษาของเจ้าหน้าที่สำหรับส่งเสริมการควบคุมตนเองในเด็กและเยาวชน เพื่อลดโอกาสการกระทำผิดซ้ำ |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1776 |
Appears in Collections: | Graduate School |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs621130155.pdf | 3.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.