Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/175
Title: FACTORS RELATED TO USING SOCIAL MEDIA BEHAVIOR AND MEDIA LITERACY IN UNIVERSITIES IN BANGKOK METROPOLITAN AREA
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างรู้เท่าทันของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Authors: KRODSHAGORN BOONYAPITRUKSAGOON
กชกร บุญยพิทักษ์สกุล
Pitchayanee Poonpol
พิชญาณี พูนพล
Srinakharinwirot University. INSTITUTE OF RESEARCH IN BEHAVIORAL SCIENCE
Keywords: พฤติกรรมการใช้สื่อ
สังคมออนไลน์
การเรียนรู้เท่าทันสื่อ
นักศึกษาปริญญาตรี
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Social media behavior
Media literacy
Universities
Bangkok metropolitan area
Issue Date:  17
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of the comparative correlation research were as follows : 1) to compare social media usage behavior with awareness of the overall dimensions and the sub-dimensions of undergraduate students with different bio-social characteristics; 2) to study the interactions between internal or personal factors and external factors, such as the social and environmental factors influencing the social media usage behavior with an awareness of the overall dimensions and sub-dimensions of undergraduate students with different bio-social characteristics; 3) to identify the important factors for predicting social media usage behavior with an awareness of the overall dimensions and sub-dimensions of undergraduate students with different bio-social characteristics. The sample group consisted of four hundred undergraduate students were obtained using multistage sampling. The data were collected  using a six-point rating scale assessment, which consisted of seven parts with alpha coefficient that ranged from between .80 to .91. The results revealed the following: 1) there was an interaction between mental immunity and having social support towards social media usage behavior with an awareness of the overall dimensions and sub-dimensions; 2) there was an interaction between personality with consciousness and being influenced by famous idols towards social media usage behavior with an awareness of the overall dimensions and sub-dimensions; 3) internal factors, such as personal factors consisting of personality with consciousness, mental immunity, and technological skills, and external factors, including social and environmental factors consisted of having social support and being influenced by famous idols could be mutually used to predict social media usage behavior with awareness of the overall dimensions and sub-dimensions in overall groups and sub-groups based on bio-social characteristics and ranging from 7% to 55% with a statistical significance of .05.
การวิจัยสหสัมพันธ์เชิงเปรียบเทียบนี้มีจุดมุ่งหมายคือ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างรู้เท่าทันทั้งด้านรวมและด้านย่อยของนักศึกษาปริญญาตรีที่มีลักษณะทางชีวสังคมต่างกัน 2) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างปัจจัยภายในบุคคลและปัจจัยทางสังคมสภาพแวดล้อมที่มีต่อพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างรู้เท่าทันทั้งด้านรวมและด้านย่อยของนักศึกษาปริญญาตรีทั้งกลุ่มรวมและกลุ่มที่มีลักษณะทางชีวสังคมต่างกัน 3) เพื่อค้นหาปัจจัยสำคัญในการทำนายพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างรู้เท่าทันทั้งด้านรวมและด้านย่อยของนักศึกษาปริญญาตรีที่มีลักษณะทางชีวสังคมต่างกัน จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้การเก็บแบบสอบถามเป็นมาตรประเมินค่า 6 ระดับ ทั้งหมด 7 ตอนที่มีความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าอยู่ระหว่าง .80 ถึง .91 ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาเพศหญิงมีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณ และพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างตระหนักถึงผลกระทบต่อบุคคลและสังคมมากกว่านักศึกษาเพศชาย 2) นักศึกษาที่อยู่ในสาขาวิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพจะเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณและพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างตระหนักถึงผลกระทบต่อบุคคลและสังคมมากกว่านักศึกษาที่อยู่ในสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสาขาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ และนักศึกษาที่อยู่ในสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์จะเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณและพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างตระหนักถึงผลกระทบต่อบุคคลและสังคมมากกว่านักศึกษาในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี 3) นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยของรัฐจะมีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณมากกว่านักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชน 4) พบปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างการมีภูมิคุ้มกันทางจิตและการได้รับการสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างรู้เท่าทันทั้งด้านรวมและด้านย่อย 5) พบปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างบุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึกและการได้รับอิทธิพลจากตัวแบบที่มีชื่อเสียงที่มีต่อพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างรู้เท่าทันทั้งด้านรวมและด้านย่อย 6) ปัจจัยภายในบุคคล (บุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก การมีภูมิคุ้มกันทางจิต และทักษะการใช้เทคโนโลยี) และปัจจัยทางสังคมสภาพแวดล้อม (การได้รับการสนับสนุนทางสังคม และการได้รับอิทธิพลจากตัวแบบที่มีชื่อเสียง) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างรู้เท่าทันทั้งในด้านรวมและด้านย่อย ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยตามลักษณะชีวสังคมได้ร้อยละ 7 ถึง 55  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  
Description: MASTER OF SCIENCE (M.S.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/175
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs571130517.pdf3.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.