Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/172
Title: | PSYCHOSOCIAL FACTORS RELATED TO ACTIVE AGING PROMOTION BEHAVIOR OF ELDERLY IN ELDERLY CLUB BANGKOK ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสริมสร้างตนเองสู่พฤฒพลังของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร |
Authors: | KANOKAON NETCHU กนกอร เนตรชู Narisara Peungposop นริสรา พึ่งโพธิ์สภ Srinakharinwirot University. INSTITUTE OF RESEARCH IN BEHAVIORAL SCIENCE |
Keywords: | ปัจจัยทางจิตสังคม พฤติกรรมเสริมสร้างตนเองสู่พฤฒพลัง ผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร Psycho-social factors Active aging promotion behavior Elderly people Elderly club Bangkok |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This research consisted of the following two objectives 1) to study the interaction between the variables of former psychological characteristics and variables on situations related to active aging promotion behavior in terms of the on overall dimensions and sub-dimensions of older people with various bio-social characteristics ; and 2) to study the predictive power on active aging promotion behavior with regard to the on overall dimensions and the sub-dimensions of older people the with various bio-social characteristics, based on the variables of former psychological characteristics, situations, and psychological characteristics based on various situations. The sample group consisted of older people who were members of senior clubs in fifty district offices in Bangkok which were obtained by using multistage sampling. The data were collected by using a six-point rating scale assessment and created by researchers based on operational definitions. This assessment procedure had an alpha coefficient ranging from 0.539 to 0.903. The statistics used for analysis consisted of Two-Way ANOVA and Stepwise Multiple Regression Analysis. The results of Two-Way ANOVA revealed the following: 1) There was no interaction between media literacy and social support related to active aging promotion behavior on the overall dimensions and sub-dimensions; 2) there was an interaction between optimism and family relationships related that was to active aging promotion behavior in terms of participation in activities; and 3) the results of Stepwise Multiple Regression Analysis and Overall Multiple Regression Analysis on the eight independent variables with three dimensions of active aging promotion behavior, which were as follows: 3.1) In terms of the overall dimensions, it was found that they could be mutually predicted as 43.40% with an optimism as the predictor with the first priority; 3.2) for participation in activities, it was found that they could be mutually predicted at 34.50% in terms of social support as the predictor with the first priority; 3.3) regarding self-health care, it was found that they could be mutually predicted at 28.60% with optimism as the predictor with the first priority; 3.4) regarding stability, it was found that they could be mutually predicted at 27.70% with attitudes toward the active aging promotion behavior as the predictor with the first priority. การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในกลุ่มจิตลักษณะเดิม กับตัวแปรในกลุ่มสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสริมสร้างตนเองสู่พฤฒพลังทั้งด้านรวมและด้านย่อยของผู้สูงอายุที่มีลักษณะชีวสังคมต่างๆ และ 2) เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายพฤติกรรมเสริมสร้างตนเองสู่พฤฒพลังทั้งด้านรวมและด้านย่อยของผู้สูงอายุที่มีลักษณะชีวสังคม ด้วยตัวแปรกลุ่มจิตลักษณะเดิม สถานการณ์ และจิตลักษณะตามสถานการณ์ต่างๆ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่ 50 สำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดประเภทมาตรประเมินรวมค่า 6 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นใหม่ตามนิยามปฏิบัติการและนำแบบวัดมาปรับปรุง มีค่าความเชื่อมั่น แบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ระหว่าง 0.539 ถึง 0.903 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบสองทาง และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง พบว่า 1) ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างการรู้เท่าทันสื่อ และการสนับสนุนทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสริมสร้างตนเองสู่พฤฒพลังด้านรวมและด้านย่อย 2) พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างการมองโลกในแง่ดี และความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสริมสร้างตนเองสู่พฤฒพลังด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรม และ 3) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบรวมและแบบเป็นขั้นของตัวแปรอิสระทั้ง 8 ตัวแปรดังกล่าวกับพฤติกรรมเสริมสร้างตนเองสู่พฤฒพลัง 3 ด้าน พบผล ดังนี้ 3.1) ด้านรวม พบว่า สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 43.40 โดยมีลำดับตัวทำนายที่สำคัญลำดับแรก คือ การมองโลกในแง่ดี 3.2) ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรม พบว่า สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 34.50 โดยมีลำดับตัวทำนายที่สำคัญลำดับแรก คือ การสนับสนุนจากสังคม 3.3) ด้านการดูแลตนเองทางสุขภาวะ พบว่า สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 28.60 โดยมีลำดับตัวทำนายที่สำคัญลำดับแรก คือ การมองโลกในแง่ดี 3.4) ด้านการสร้างความมั่นคง พบว่า สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 27.70 โดยมีลำดับตัวทำนายที่สำคัญลำดับแรก คือ เจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมเสริมสร้างตนเองสู่พฤฒพลัง |
Description: | MASTER OF SCIENCE (M.S.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/172 |
Appears in Collections: | Institute of Research in Behavioral Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs571130413.pdf | 2.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.