Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1720
Title: A COMPARATIVE STUDY OF ONLINE GAME MANAGEMENT POLICY BETWEEN CHINA SOUTH KOREA AND JAPAN
การศึกษาเปรียบเทียบนโยบายการจัดการเกมออนไลน์ระหว่างประเทศจีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น
Authors: AMPORNRAT CHOOSRI
อัมพรรัตน์ ชูศรี
Preechaya Nakfon
ปรีชญาณ์ นักฟ้อน
Srinakharinwirot University
Preechaya Nakfon
ปรีชญาณ์ นักฟ้อน
preechayan@swu.ac.th
preechayan@swu.ac.th
Keywords: เกมออนไลน์
นโยบายการจัดการเกมออนไลน์
Online game
Online game management policy
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purpose of this research is to study the following: (1) to comparatively analyze the social problems, needs and issues related to online games in China, South Korea and Japan; (2) to comparatively analyze the online gaming management policies of China, South Korea and Japan. This qualitative research analyzed documents, such as electronic documents, journals, articles, news, research papers, academic journals from educational institutions, private agencies, and various government agencies, both at home and abroad. The study found the following: (1) the online gaming management policies of the three countries were consistent with the online gaming situation in each country, that is, when the impact was positive on the economy. The established policies or measures therefore had a supportive nature. The same is true when the negative impact has a social effect and the policies or measures set by the government are in the form of control or prevention. (2) From the study of online game management policies of the three countries through Dunn's policy analysis process, it was found that when the government realized and saw the importance of the problems with online games that are related to the public and the whole of the country (Problem Structuring) has established policies on online games in various forms. by using regulatory measures through law enforcement and facilitation measures, that is to say, objectives and targets are clearly and concretely defined (Policy Problem). All three countries have policies that have clear objectives and goals, both to control and support. The next factor contributing to the success of each country's online game management policy is the delegation of clear tasks in governance. In each country, the authority, duties, and missions are clearly defined as unity in their operations. resulting in operational efficiency The next factor is Resource support This is a factor that is evident from the three countries in formulating online game management policies, namely, they have fully supported the resources in terms of personnel, tools, management and budget to develop and promote the gaming and e-sports industry.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหา/ความต้องการของสังคมในประเด็นที่เกี่ยวกับเกมออนไลน์ในประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น (2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบนโยบายการจัดการเกมออนไลน์ของประเทศจีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์จากเอกสาร (Documentary Analysis) ได้แก่ เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ วารสาร บทความ ข่าว งานวิจัย วารสารวิชาการ จากสถานศึกษา หน่วยงานเอกชน และหน่วยงานราชการต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า (1) นโยบายการจัดการเกมออนไลน์ของทั้งสามประเทศมีความสอดคล้องกับ สถานการณ์เกมออนไลน์ของแต่ละประเทศ กล่าวคือ เมื่อผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นไปในเชิงบวกทางด้านเศรษฐกิจ นโยบายหรือ มาตรการที่กำหนดจึงมีลักษณะในเชิงสนับสนุนส่งเสริม เช่นเดียวกันเมื่อผลกระทบที่เกิดขึ้นในเชิงลบส่งผลทางด้านสังคม นโยบาย หรือมาตรการที่ภาครัฐกำหนดจึงเป็นไปในลักษณะของการควบคุมหรือป้องกันแก้ไข (2) รูปแบบการปกครองส่งผลให้นโยบาย การกำกับควบคุมของจีนเข้มงวดกว่าเกาหลีใต้และญี่ปุ่น กล่าวคือ สภาพทางการเมืองการปกครองของประเทศมีระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองพรรคเดียวหรือพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเสถียรภาพและอำนาจสูงสุดด้านนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ ในขณะที่ประเทศเกาหลีใต้และญี่ปุ่นมีการปกครองแบบประชาธิปไตย มีความยืดหยุ่น ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนและผู้ที่มี ส่วนได้เสียจากการกำหนดนโยบายได้แสดงความคิดเห็น ซึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อนโยบายที่กำหนดขึ้นในภายหลังได้ (3) ปัจจัยที่ส่งผลให้การนำนโยบายเกี่ยวกับเกมออนไลน์ของประเทศจีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จ ได้แก่ 1) ความชัดเจน ของนโยบาย มีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายไว้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม 2) การมอบหมายงานที่ชัดเจน มีการกำหนด อำนาจหน้าที่หน่วยงานการมีภารกิจชัดเจนอย่างเป็นเอกภาพในการปฏิบัติงาน และ 3) การสนับสนุนทรัพยากร ด้านบุคลากร เครื่องมือ การบริหารจัดการ และงบประมาณ ในการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับการจัดการเกมออนไลน์
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1720
Appears in Collections:Faculty of Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs612130039.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.