Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/162
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | PANAPHON SUK-ARJ | en |
dc.contributor | ภณพร สุขอาจ | th |
dc.contributor.advisor | Patrayu Taebunpakul | en |
dc.contributor.advisor | ภัทรายุ แต่บรรพกุล | th |
dc.contributor.other | Srinakharinwirot University. Faculty of Dentistry | en |
dc.date.accessioned | 2019-06-18T02:28:51Z | - |
dc.date.available | 2019-06-18T02:28:51Z | - |
dc.date.issued | 21/12/2018 | |
dc.identifier.uri | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/162 | - |
dc.description | MASTER OF SCIENCE (M.Sc.) | en |
dc.description | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) | th |
dc.description.abstract | Objective : To compare the bone formation at the implant site before and after six months of sinus floor elevation using osteotome without grafting and to study the factors affecting the success of dental implants including implant size, length, surface and shape. Material and methods : Thirty-one implants from area 14-17 and 24-27 were included in this study. All of the implants had a history of sinus floor elevation using osteotome technique (OSFE) without grafting with CBCT taken prior the surgery, which took place six months ago at the Faculty of Dentistry at Srinakrarinwirot University or Thepdharin Hospital. The oral examination and radiographic examination (CBCT) were performed after six months of implantation with OSFE. The symptoms regarding sinus infections were recorded. The residual bone height, new bone levels, endo-sinus bone gain and implant length protrusion, which were measured on CBCT. A paired sample t-Test and the Pearson Correlation were used to analyze the data. Results : A total of Twenty-seven patients (eleven men and sixteen women) were included in the study with a total of thirty-one implants. The average residual bone height before surgery and the new bone level six months after surgery were 7.14 ±1.07mm and 8.95 ±1.17 mm respectively. There was significant increase in new bone formation after six months (p<0.05). The average of endo-sinus bone gain was 1.8 ±0.793 mm. Furthermore, the residual bone height and the implant protrusion length were significantly correlated to the endo-sinus bone gain (p<0.05). The survival rate for implants was 100 %. Conclusion : The new bone formation can be detected around the implant site after six months of OSFE procedure without grafting. OSFE technique without grafting can provide sufficient bone height for implant support with 100% of implant survival rate. In addition, the implant factors included shape, size, length and surface, which did not affect the implant quality in this study. | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบระดับกระดูกบริเวณรากเทียมก่อนและหลังการผ่าตัดยกพื้นไซนัสด้วยเทคนิคสิ่วตอกกระดูกปราศจากการเสริมกระดูกร่วมกับการใส่รากเทียมภายหลัง 6 เดือน และเพื่อศึกษาปัจจัยของรากเทียมได้แก่ ขนาด ความยาว ลักษณะพื้นผิวและรูปทรง ที่มีผลต่อคุณภาพของรากเทียมภายหลังการผ่าตัดยกพื้นไซนัสด้วยเทคนิคสิ่วตอกกระดูกปราศจากการเสริมกระดูก วิธีการศึกษา : การศึกษาในรากเทียมของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่รากเทียมที่มีการยกพื้นไซนัสด้วยเทคนิคสิ่วตอกกระดูกปราศจากการปลูกกระดูกด้วยวิธีมาตรฐานมาแล้ว 6 เดือนบริเวณฟันหลังของขากรรรไกรบน (ซี่14-17และ 24-27) รวม 31 ตำแหน่ง ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และโรงพยาบาลเทพธารินทร์ โดยผู้เข้าร่วมงานวิจัยทุกคนจะต้องมีภาพถ่ายรังสีโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีก่อนการผ่าตัดยกไซนัส ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจทางคลินิกและถ่ายภาพรังสีโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีที่ตำแหน่งเดียวกันภายหลังการผ่าตัดยกไซนัสด้วยเทคนิคสิ่วตอกกระดูกปราศจากเสริมกระดูกที่เวลา 6 เดือน แล้วจึงบันทึกอาการต่างๆทางคลินิกเพื่อประเมินคุณภาพของรากเทียม รวมทั้งวัดระดับกระดูกที่เหลืออยู่และระดับกระดูกที่สร้างใหม่จากภาพรังสี เพื่อเปรียบเทียบระดับกระดูกก่อนและหลังการผ่าตัดแล้วนำมาคำนวณด้วยสถิติ paired sample t-Test รวมถึงหาความสัมพันธ์ของระดับกระดูกที่เหลืออยู่และระยะการตอกยกไซนัสกับการสร้างกระดูกใหม่ในไซนัสด้วยสถิติ Pearson Correlation ผลการศึกษา : มีผู้เข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้จำนวนหมด 27 คน คิดเป็นชาย 11 คน (ร้อยละ 40.74) และหญิง 16 คน (ร้อยละ 59.25) โดยคิดเป็นรากเทียมทั้งหมดจำนวน 31 ตำแหน่ง ซึ่งมีอัตราการอยู่รอด 100% หลังจาก 6 เดือน ผลจากภาพรังสีโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีพบว่ารากเทียมทั้ง 31 ตำแหน่งมีระดับกระดูกที่เหลือก่อนและหลังการปักรากเทียมเฉลี่ย 7.14 ±1.07 มิลลิเมตร และ 8.95 ±1.17 มิลลิเมตร ตามลำดับ ซึ่งพบว่ามีการสร้างกระดูกเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นจึงมีการสร้างกระดูกใหม่ในไซนัสเฉลี่ยเท่ากับ 1.8 ±0.79 มิลลิเมตร ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับกระดูกที่เหลือก่อนการผ่าตัดและระดับการตอกยกไซนัส นอกจากนี้ปัจจัยของรากเทียมได้แก่ขนาด ความยาว รูปทรง และพื้นผิวไม่มีผลต่อคุณภาพของรากเทียม สรุป : การศึกษานี้พบว่าการใส่รากเทียมร่วมกับการยกไซนัสด้วยเทคนิคสิ่วตอกกระดูกปราศจากการเสริมกระดูกสามารถสร้างกระดูกใหม่ในไซนัสได้ และพบว่าระดับกระดูกที่เหลือก่อนการผ่าตัดและระดับการยกไซนัสด้วยสิ่วตอกกระดูกมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการสร้างกระดูกใหม่ในไซนัส รากเทียมทั้ง 31 ตำแหน่งมีอัตราการอยู่รอดและใช้งานได้ดีในช่องปากร้อยละ 100 โดยในการศึกษานี้ไม่พบว่าปัจจัยของขนาด ความยาว รูปทรง และพื้นผิวของรากเทียมมีผลต่อคุณภาพของรากเทียม | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Srinakharinwirot University | |
dc.rights | Srinakharinwirot University | |
dc.subject | รากเทียม | th |
dc.subject | ผ่าตัดยกไซนัส | th |
dc.subject | สิ่วตอกกระดูก | th |
dc.subject | คุณภาพรากเทียม | th |
dc.subject | กระดูกใหม่ในไซนัส | th |
dc.subject | เสริมกระดูก | th |
dc.subject | Implant | en |
dc.subject | Sinus lift | en |
dc.subject | Osteotome | en |
dc.subject | Implant quality | en |
dc.subject | Endo-sinus bone gain | en |
dc.subject | Bone grafting | en |
dc.subject.classification | Dentistry | en |
dc.title | FACTORS AFFECTING THE QUALITY OF IMPLANT FOLLOWING SINUS FLOOR ELEVATION USING OSTEOTOME TECHNIQUE WITHOUT GRAFTING | en |
dc.title | การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของรากเทียมภายหลังการผ่าตัดยกพื้นไซนัสด้วยเทคนิคสิ่วตอกกระดูกปราศจากการเสริมกระดูก | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | ปริญญานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Faculty of Dentistry |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs591110082.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.