Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1625
Title: RISK MANAGEMENT MATURITY MODEL FOR PUBLIC HIGHER EDUCATION INSTITUTION
แบบจำลองวุฒิภาวะของการบริหารความเสี่ยงสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
Authors: SIRILUK SUESAT
สิริลักษณ์ ซื่อสัตย์
Taweesil Koolnaphadol
ทวีศิลป์ กุลนภาดล
Srinakharinwirot University. Faculty of Education
Keywords: วุฒิภาวะการบริหารความเสี่ยง
การบริหารความเสี่ยงแบบทั่วทั้งองค์กร
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
Risk Management Maturity
Enterprise Risk Management
Public Higher Education Institutions
Issue Date:  27
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This mixed-method research aims to study the risk management process and analyze the factors of the risk management process in Public Higher Education Institutions in the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation (MHESI). There were two phases: the first phase used the qualitative method. There were nine key informants that the researcher used a purposive sampling with specific qualification. The data were collected by using semi-structured interview form of Enterprise Risk Management for in-depth interview techniques from April 1-15, 2021. The data were analyzed by content analysis. The second phase used the qualitative method. There were 385 samples created with the Krejcie & Morgan sample size table. The multi-stage sampling was chosen for administrators and academic instructors from 30 Public Higher Education Institutions of MHESI. The data were collected using a rating scale questionnaire from July to August 2021. The exploratory factor analysis appeared to be appropriate for use. The results of the first phase showed that the enterprise risk management processes of MHESI had four aspects, which focused on five components of risk management, as follows: (1) the aspect of good governance management, focused on one component; (2) the aspect of budgeting management was focused on four components; (3) the aspect of strategic plan management focused on four components; and (4) the aspect of the decision-making process, which focused on three components. The results of the second phase showed that Kaiser-Meyer-Olkin Measure of Sampling Adequacy (KMO) value was equal to 0.937, and the p-value of Bartlett’s Test of Sphericity was equal to 0.05. The 75 variables can be divided into five groups with an Eigen value >1.00, which explained the variance of 75 variables for 66.81%. The maturity of risk management was divided into five levels, as follows: (1) natured; (2) established; (3) organized; (4) managed; and (5) integrated.
การศึกษาผสานวิธีครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารความเสี่ยงและวิเคราะห์องค์ประกอบของกระบวนการบริหารความเสี่ยงในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ แบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 9 คน เก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงแบบทั่วทั้งองค์กร ระหว่างวันที่ 1-15 เมษายน 2564 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา  ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้ 385 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เป็นกลุ่มผู้ที่ดำรงตำแหน่งบริหาร และกลุ่มคณาจารย์สายวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) จำนวน 30 แห่ง โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า กระบวนการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 4 ด้าน ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบการบริหารความเสี่ยง 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ด้านการจัดการสถาบันในลักษณะของการมีธรรมาภิบาล ให้ความสำคัญกับ 1 องค์ประกอบ 2) ด้านการจัดการงบประมาณ ให้ความสำคัญกับ 4 องค์ประกอบ 3) ด้านการจัดการแผนกลยุทธ์ของสถาบัน ให้ความสำคัญกับ 4 องค์ประกอบ และ 4) ด้านกระบวนการตัดสินใจของผู้บริหาร ให้ความสำคัญกับ 3 องค์ประกอบ ระยะที่ 2 พบผลการวิเคราะห์ Kaiser-Meyer-Olkin Measure of Sampling Adequacy: KMO มีค่าเท่ากับ 0.937 และผลการทดสอบ Bartlett’s Test of Sphericity พบว่าตัวแปรต่างๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  การจัดตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์มีทั้งหมด 75 ตัวแปร สามารถจัดกลุ่มได้จำนวน 5 องค์ประกอบ มีค่าไอเกน เกิน 1.00 อธิบายความแปรปรวนของตัวแปรทั้งหมด 75 ตัวแปร ได้ร้อยละ 66.81 และสามารถแบ่งระดับวุฒิภาวะของการบริหารความเสี่ยงเป็น 5 ระดับ คือ 1) ธรรมชาติสถาบัน 2) การสร้าง 3) การจัดระเบียบ 4) การบริหารจัดการ และ 5) การบูรณาการ
Description: DOCTOR OF EDUCATION (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1625
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611150084.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.