Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1613
Title: | THE EFFECT OF THREE SURFACE COATING AGENTS ON MICROHARDNESS AND MICROLEAKAGE OF GLASS IONOMER CEMENTS ผลของสารเคลือบพื้นผิว 3 ชนิด ต่อความแข็งผิวจุลภาคและการรั่วซึมระดับจุลภาคของวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ |
Authors: | MONCHANOK JONGBOONJUA มนต์ชนก จงบุญเจือ Sirichan Chiaraputt ศิริจันทร์ เจียรพุฒิ Srinakharinwirot University. Faculty of Dentistry |
Keywords: | สารเคลือบพื้นผิว ความแข็งผิววัสดุ การรั่วซึมของวัสดุ Surface coating agent Microhardness Microleakage |
Issue Date: | 27 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The objective of this study was to compare the effects of different surface coating agents on microhardness and microleakage of high-viscosity and resin-modified glass ionomer cements. The materials and methods included the following: Part 1: Fuji IX GP EXTRA (n=40) and Fuji II LC (n=40). Surface coating agents were used to allocate the blocks into four groups (n=10): (1) non-coated; (2) coated with Single Bond Universal; (3) coated with Teethmate F-1 sealant; and (4) coated with G-coat plus. Then, they were subjected to a simulated oral environment. The surface microhardness was measured and the data were analyzed with One-way ANOVA and Bonferroni test. Part 2: 20 upper premolar teeth were prepared for 40 class V cavities. Two types of glass ionomer cements (n=20) were used to restore the cavities and divided into four groups (n=5). The microleakage was measured with Micro-CT scan and the data were analyzed with Kruskal-Wallis test. In conclusion, the application of surface coating agents on Fuji IX GP EXTRA blocks statistically increased microhardness and reduced microleakage compared to non-coated group (P<0.05). When Teethmate F-1 sealant and G-coat plus were applied on Fuji II LC blocks, the microhardness was statistically higher than the Single Bond Universal and non-coated group. The microleakage tests revealed no differences in leakage between three types of surface coating agents and non-coated groups. การศึกษานี้วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแข็งผิวและการรั่วซึมของวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ เมื่อนำสารชนิดต่างๆมาใช้เคลือบพื้นผิวหลังการบูรณะ โดยการทดลองตอนที่ 1 มีการเตรียมชิ้นวัสดุในเบ้าหล่อ กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดความหนืดสูง 40 ชิ้น(High- viscosity glass ionomer cement: Fuji IX GP EXTRA) และเรซินมอดิฟายด์กลาสอโอโนเมอร์ 40 ชิ้น (Resin modified glass ionomer cement: Fuji II LC) ภายหลังการเตรียมชิ้นงาน แบ่งกลุ่มชิ้นงานแต่ละวัสดุตามการทาสารเคลือบพื้นผิว 4 กลุ่ม (n=10) ได้แก่ 1) ไม่ทาสารเคลือบพื้นผิว 2) Single bond Universal 3) Teethmate F-1 sealant และ 4) G-coat plus นำชิ้นงานทั้งหมดผ่านการจำลองการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและสภาวะความเป็นกรดด่างในช่องปาก หลังจากนั้น นำชิ้นงานมาทดสอบความแข็งผิว ผลข้อมูลนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติ One-way ANOVA และ Bonferroni test และการทดลองตอนที่ 2 นำฟันกรามน้อยบน 20 ซี่มาเตรียมโพรงฟันบริเวณคอฟัน 40 โพรงฟัน บูรณะด้วยวัสดุทั้ง 2 ชนิด ชนิดละ 20 โพรงฟัน และทาสารเคลือบพื้นผิว 4 ชนิด (n=5) หลังจากนั้นนำฟันกรามน้อยที่บูรณะแล้วมาแช่สารซิลเวอร์ไนเตรต และประเมินการรั่วซึม ด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ Micro-CT Scan ผลข้อมูลนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติ Kruskal-wallis test จากผลการทดลอง สามารถสรุปได้ว่า การทาสารเคลือบพื้นผิวหลังบูรณะด้วย Fuji IX GP EXTRA ส่งผลให้วัสดุมีความแข็งผิวสูงขึ้นและการรั่วซึมน้อยกว่าวัสดุที่ไม่ทาสารเคลือบพื้นผิวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 สำหรับวัสดุ Fuji II LC ที่ได้รับการเคลือบพื้นผิวด้วย Teethmate F-1 sealant และ G-coat plus ให้ค่าความแข็งผิวสูงกว่ากลุ่มที่ทาด้วย Single bond Universal และไม่ทาสารเคลือบพื้นผิวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับการทดสอบการรั่วซึมของวัสดุ Fuji II LC พบว่า กลุ่มที่ทาสารเคลือบพื้นผิวชนิดต่างๆ และกลุ่มที่ไม่ทาสารเคลือบพื้นผิว พบการรั่วซึมที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Description: | MASTER OF SCIENCE (M.Sc.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1613 |
Appears in Collections: | Faculty of Dentistry |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs621110096.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.