Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1578
Title: THAI TRANSLATION WITH CROSS-CULTURAL ADAPTATION OF THE QUESTIONNAIRE FOR DIABETES RELATED FOOT DISEASE (Q-DFD) AND ITS RELIABILITY AND VALIDITY 
การแปลภาษาตามแนวทางการปรับข้ามวัฒนธรรมของแบบสอบถามโรคเท้าที่เกี่ยวข้องกับเบาหวานเป็นฉบับภาษาไทย และความเชื่อมั่น ความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม
Authors: RAPEEPUN THUNGTAK
ระพีพรรณ เทือกทักษ์
Saitida Lapanantasin
สายธิดา ลาภอนันตสิน
Srinakharinwirot University. Faculty of Physical Therapy
Keywords: คุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยา
แบบสอบถาม
การคัดกรอง
เท้าเบาหวาน
psychometric property
questionnaire
screening
diabetic foot
peripheral neuropathy
peripheral artery disease
Issue Date:  17
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: A questionnaire for diabetes-related foot diseases (DRFD) screening is beneficial for people with diabetes in rural areas of Thailand where it may be difficult to access healthcare services and a lack of the health professionals. This study aimed to translate and cross-culturally adapt the Questionnaire for Diabetes-related Foot Disease (Q-DFD) into a Thai version (Thai Q-DFD); and to assess the psychometric properties of the Thai Q-DFD. The study consisted of two main processes: (1) Thai translation and cross-cultural adaptation of the Q-DFD to Thai Q-DFD; and (2) testing the psychometric properties of the Thai Q-DFD. In total, 177 diabetic patients were included in the study. The test-retest reliability of Thai Q-DFD was conducted between three days apart. The validity of Thai Q-DFD, either in diagnosis or risk classification of DRFD, was verified by an agreement between the screening results of Thai Q-DFD and those of standard clinical examinations. The standard clinical examinations includes pressure and vibration sense tests using a 10-gram monofilament and 128-Hz tuning fork, and an ankle brachial index test. The data were analyzed using the kappa coefficient. The major research findings indicated the following: (1) the Thai Q-DFD was modified from the original version in terms of five items (1, 3b, 8, 10a, 12e) to suit the background, community, and the Thai health care system; (2) the Thai Q-DFD was equivalent to the original Q-DFD and was easily understood by the villagers; (3) the test-retest reliability for DRFD diagnosis was substantial agreement (kappa = 0.74); (4) the concurrent validity for DRFD diagnosis by Thai Q-DFD was in substantial agreement with that of the standard clinical examinations  (kappa 0.719); and (5) the known-group validity in classifying foot complication risk of Thai Q-DFD substantially agreed with the standard clinical examinations (kappa=0.686). In conclusion, Thai Q-DFD showed good psychometric properties. It can be applied for primary screening of DRFD and classifying foot-complication risk in the community.    
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้1) เพื่อแปลและปรับตามวัฒนธรรมของแบบสอบถาม Diabetes-related Foot Disease (Q-DFD) เป็นฉบับภาษาไทย 2) เพื่อทดสอบความน่าเชื่อถือในการทดสอบซ้ำ ความเที่ยงตรงเชิงสภาพ และความเที่ยงตรงต่อการจำแนกความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่เท้า ของแบบสอบถาม Q-DFD ฉบับภาษาไทย การศึกษานี้ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก 1) การแปลและปรับตามวัฒนธรรมของแบบสอบถาม Q-DFD ตามหลักเกณฑ์สากล และ 2) การทดสอบคุณสมบัติของแบบสอบถาม Q-DFD ฉบับภาษาไทย ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า จังหวัดตรัง จำนวนทั้งสิ้น 177 คน ประกอบด้วย การทดสอบความน่าเชื่อถือในการทดสอบซ้ำ จำนวน 50 คน การทดสอบความเที่ยงตรงเชิงสภาพ จำนวน 139 คน และการทดสอบความเที่ยงตรงต่อการจำแนกความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่เท้า จำนวน 177 คน ความน่าเชื่อถือในการทดสอบซ้ำของแบบสอบถาม Q-DFD ฉบับภาษาไทย ทดสอบซ้ำใน 3 วัน  ความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม Q-DFD ฉบับภาษาไทย เป็นการทดสอบการเห็นพ้องระหว่างการวินิจฉัยโรคเท้าเบาหวานและการจำแนกความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่เท้าระหว่างแบบสอบถาม Q-DFD ฉบับภาษาไทย และเครื่องมือมาตรฐานทางคลินิก ได้แก่ ส้อมเสียงขนาด 128 เฮิร์ต โมโนฟิลาเมนต์ ขนาด 10 กรัม และดัชนีข้อเท้า-แขน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์แคปปา ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้อคำถาม จำนวน 5 ข้อ (ข้อ 1, 3b, 8, 10a, 12e) ในแบบสอบถาม Q-DFD ฉบับภาษาไทยมีการปรับจากต้นฉบับ เพื่อให้มีความความเหมาะสมทางภูมิหลัง สังคม และระบบให้บริการทางด้านสุขภาพของประเทศไทย 2) แบบสอบถาม Q-DFD ฉบับภาษาไทยมีความเทียบเท่ากับต้นฉบับและสามารถเข้าใจได้ง่ายโดยชาวบ้าน 3) ความน่าเชื่อถือในการทดสอบซ้ำสำหรับการวินิจฉัยโรคเท้าเบาหวานพบมีความเห็นพ้องอย่างมาก (kappa = 0.74) 4) ความเที่ยงตรงเชิงสภาพของแบบสอบถาม Q-DFD ฉบับภาษาไทย เมื่อเทียบกับเครื่องมือมาตรฐานทางคลินิกสำหรับการวินิจฉัยโรคเท้าเบาหวาน  พบมีความเห็นพ้องอย่างมาก (kappa= 0.719) ความไวและความจำเพาะเท่ากับ 92.5 และ 78.3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และ 5) ความเที่ยงตรงต่อการจำแนกความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่เท้าของแบบสอบถาม Q-DFD ฉบับภาษาไทย เมื่อเทียบกับเครื่องมือมาตรฐานทางคลินิก พบมีความเห็นพ้องอย่างมาก (kappa=0.686) ผลการศึกษาสรุปได้ว่าแบบสอบถาม Q-DFD ฉบับภาษาไทย มีคุณสมบัติที่ดีสำหรับความน่าเชื่อถือในการทดสอบซ้ำ ความเที่ยงตรงเชิงสภาพ และความเที่ยงตรงต่อการจำแนกความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่เท้า สามารถนำไปใช้ในการคัดกรองโรคเท้าเบาหวาน และจำแนกความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่เท้าได้    
Description: DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1578
Appears in Collections:Faculty of Physical Therapy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601120005.pdf6.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.