Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1575
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSITRAPORN BINSIRAWANICHen
dc.contributorสิตราภรณ์ บิณศิรวานิชth
dc.contributor.advisorNanticha Kamanamoolen
dc.contributor.advisorนันทิชา คมนามูลth
dc.contributor.otherSrinakharinwirot University. Faculty of Medicineen
dc.date.accessioned2022-06-07T07:52:07Z-
dc.date.available2022-06-07T07:52:07Z-
dc.date.issued17/12/2021
dc.identifier.urihttp://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1575-
dc.descriptionMASTER OF SCIENCE (M.Sc.)en
dc.descriptionวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)th
dc.description.abstractKeratosis pilaris is the most common follicular disorder in children. Several treatments have been used, such as topical moisturizers, exfoliants, anti‐inflammatory agents and topical corticosteroids. However, despite these techniques, the results remain temporary and there are side effects. The energy-based devices used to treat Keratosis pilaris include an 810-nm Diode laser, a Pulsed Dye laser combined with Alexandrite, a carbon dioxide laser, a Q-switched 1064-nm Nd: YAG laser, and an intense pulse light. There are several effective medical and energy-based device therapies, but no definite treatment that can prevent clinical relapse. This leads to the study of insulated microneedle radiofrequency, as it can generate massive heat and stimulate the migration and proliferation of keratinocytes and fibroblasts, dissolve follicular plugging and twisted vellus hair with a low rate of adverse effects. The radiofrequency procedure is preferred because of the low rate of adverse effects, with no risk of pigment alteration or the independent ability of chromophores. There are no publications on radiofrequency in Keratosis pilaris treatment. The study of the efficacy of insulated microneedle radiofrequency was evaluated by Antera 3D, with a physician grading scale, a visual analog scale and adverse effects in week 12 compared to baseline (Week 0). Skin roughness from insulated microneedle radiofrequency by week 12 using Antera 3D showed skin roughness improvement, but the comparison between insulated microneedle radiofrequency and sham irradiation had no statistically significant differences (p=0.420). Erythema from insulated microneedle radiofrequency at week 12 with Antera 3D showed erythema improvement, but the comparison had no statistically significant differences (p=0.585). Hyperpigmentation from insulated microneedle radiofrequency at week 12 with Antera 3D showed hyperpigmentation improvement, but the comparison had no statistically significant differences (p=0.974) and the physician grading scale of radiofrequency treatment at week 12 was significantly better than the baseline (p<0.001). Inversely, the physician grading scale of sham irradiation by week 12 was no better than the baseline, with no statistically significant differences (p=1.000). The visual analog scale of radiofrequency treatment had statistically significant improvement and higher than sham irradiation (p <0.01). The side effects of radiofrequency treatment in the 4th, 8th and 12th weeks were minor and transient erythema and itching, while 14 patients (70%) had erythema and three patients (15%) had itching with no irreversible or harmful side effects. The side effects of sham irradiation in the 4th, 8th and 12th week were minimal and transient. 12 patients (60%) had erythema and three patients (10%) had itching with no irreversible and harmful side effects. In conclusion, insulated microneedle radiofrequency is an alternative procedure for skin roughness and erythema of Keratosis pilaris, with no major side effects.en
dc.description.abstractโรคขนคุด (Keratosis pilaris) เป็นโรค Follicular disorder ที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก การรักษาโรคขนคุดในปัจจุบันพบว่ามีการรักษาหลากหลายชนิดที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาเพื่อลดอาการ ได้แก่ การใช้ยาทาเพิ่มความชุ่มชื้น (Moisturizer) ยาละลายขุยที่ผิวหนัง เช่น Lactic acid, Salicylic acid, Glycolic acid และยาทากรดวิตามินเอ เช่น Tazarotene และ Tretinoin ยาทาลดการอักเสบหรือยาทาสเตียรอยด์ แต่มักพบว่ารอยโรคกลับมาเป็นซ้ำหลังจากหยุดการรักษา จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าการใช้ Energy based devices ในการรักษาโรคขนคุด เช่น 810-nm Diode laser, Pulsed Dye Laser Combined With Alexandrite,  Carbon dioxide laser, Q-switched 1064-nm Nd:YAG Laser, และ Intense pulse light เป็นต้น ปัจจุบันพบว่าการรักษาขนคุดด้วยการทายาและใช้ Energy based devices ให้ผลการรักษาที่ค่อนข้างดีแต่สามารถเกิดผลข้างเคียงได้และพบว่ายังไม่มีวิธีใดที่ให้ผลการรักษาที่ทำให้รอยโรคขนคุดหายขาดจึงนำมาสู่การศึกษาการนำคลื่นวิทยุมาใช้รักษาโรคขนคุด เพราะคลื่นวิทยุมีคุณสมบัติที่ปล่อยมวลพลังงานความร้อนที่มีปริมาณมากและลงลึกทำให้สามารถกระตุ้นทำให้เกิด Migration and proliferation ของเซลล์ผิวหนัง(Keratinocyte) และเนื้อเยื่อเกี่ยวกัน(Fibroblast) ลดการอุดของเคราตินบริเวณรูขุมขน และยังช่วยเรื่องขนคุด (Twisted hair) นอกจากนี้ยังพบว่ามีอัตราการเกิดผลข้างเคียงที่ต่ำและในปัจจุบันไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับผลของคลื่นวิทยุที่จะช่วยรักษาโรคขนคุดจึงถือได้ว่าเป็นการหาทางเลือกใหม่ในการรักษาขนคุด จากการศึกษาวิจัยการศึกษาประสิทธิภาพของคลื่นวิทยุชนิดเข็มขนาดเล็กที่มีฉนวนในการรักษาโรคขนคุดนี้พบว่าผลการประเมินทางคลินิกจากเครื่อง Antera 3D พบว่าผลจากการรักษาด้วยคลื่นวิทยุในสัปดาห์ที่ 12  มีการลดลงของความขรุขระของรอยโรคขนคุดเมื่อเทียบกับก่อนการรักษา(Week 0, Baseline) และเมื่อเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างกลุ่มที่รักษาด้วยคลื่นวิทยุและกลุ่มที่ได้รับการรักษาหลอกพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.420) ผลการประเมินทางคลินิกจากเครื่อง Antera 3D พบว่าผลจากการรักษาด้วยคลื่นวิทยุเมื่อประเมินโดยการใช้ค่าความแดงของรอยโรคด้วยเครื่อง Antera 3D ที่ระยะเวลา 4, 8 และ 12 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ 0 (Baseline) พบว่ามีประสิทธิภาพไม่แตกต่างจากการรักษาหลอก (p=0.585) ผลการประเมินทางคลินิกจากเครื่อง Antera 3D พบว่าผลจากการรักษาด้วยคลื่นวิทยุ เมื่อประเมินโดยการใช้ค่าความดำของรอยโรคด้วยเครื่อง Antera 3D ที่ระยะเวลา 4, 8 และ 12 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ 0 (Baseline) พบว่ามีประสิทธิภาพไม่แตกต่างการรักษาหลอก (p=0.974) เมื่อเปรียบเทียบผลการรักษาโรคขนคุดด้วยคลื่นวิทยุ (Physician grading scale) ในสัปดาห์ที่ 12 พบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษามากกว่าก่อนการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ผลการรักษาโรคขนคุดด้วยการรักษาหลอกในสัปดาห์ที่ 12 พบว่าไม่มีประสิทธิภาพในการรักษามากกว่าก่อนการรักษาและไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=1.000) อาสาสมัครมีระดับความพึงพอใจโดยรวม(Visual analog scale) ในการรักษาโรคขนคุดด้วยคลื่นวิทยุ มากกว่าการรักษาหลอก (Sham irradiation) เนื่องจากระดับความรุนแรงของรอยโรคขนคุดลงหลังทำการรักษาด้วยคลื่นวิทยุลดลงมากกว่าก่อนการรักษา (p <0.01) จากการศึกษาผลข้างเคียงที่พบจากการรักษาขนคุดด้วยคลื่นวิทยุ เมื่อเทียบกับของผิวหนังที่ได้รับการรักษาหลอก (Sham irradiation) ที่ระยะเวลา 4, 8 และ 12 สัปดาห์ พบว่าจำนวนคนไข้ที่มีผลข้างเคียงหลังทำการรักษาด้วยคลื่นวิทยุ ได้แก่ อาการแดง (Erythema) และอาการคัน ซึ่งเป็นอาการที่ไม่รุนแรง พบจำนวนอาสาสมัคร 14 คน มีอาการแดง คิดเป็นร้อยละ 70 และจำนวนอาสาสมัคร 3 คน มีอาการคัน คิดเป็นร้อยละ 15 และไม่พบอาสาสมัครที่มีผลข้างเคียงรุนแรง ผลข้างเคียงที่พบจากการการรักษาหลอก (Sham irradiation) ได้แก่ อาการแดง (Erythema) และอาการคัน ซึ่งเป็นอาการที่ไม่รุนแรง พบจำนวนอาสาสมัคร 12 คน มีอาการแดง คิดเป็นร้อยละ 60 และจำนวนอาสาสมัคร 2 คน มีอาการคัน คิดเป็นร้อยละ 10 และไม่พบอาสาสมัครที่มีผลข้างเคียงรุนแรง จากการศึกษางานวิจัยนี้จึงสรุปผลได้ว่าการใช้คลื่นวิทยุชนิดเข็มขนาดเล็กที่มีฉนวนสามารถนำมาใช้เป็นทางเลือกในการรักษาโรคขนคุดที่มีประสิทธิภาพในด้านความขรุขระและความแดง และไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการรักษาth
dc.language.isoth
dc.publisherSrinakharinwirot University
dc.rightsSrinakharinwirot University
dc.subjectโรคขนคุดth
dc.subjectคลื่นวิทยุth
dc.subjectคลื่นวิทยุชนิดเข็มขนาดเล็กที่มีฉนวนth
dc.subjectKeratosis pilarisen
dc.subjectradiofrequencyen
dc.subjectInsulated microneedle radiofrequencyen
dc.subject.classificationMedicineen
dc.titleTHE EFFICACY OF INSULATED MICRONEEDLE RADIOFREQUENCY IN KERATOSIS PILARISen
dc.titleการศึกษาประสิทธิภาพของคลื่นวิทยุ ชนิดเข็มขนาดเล็กที่มีฉนวน ในการรักษาโรคขนคุดth
dc.typeThesisen
dc.typeปริญญานิพนธ์th
Appears in Collections:Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621110032.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.