Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1561
Title: AN ANALYSIS RELATIONSHIP BETWEEN RETIREMENT SAVINGS AND ECONOMIC GROWTH IN THAILAND  
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการออมเพื่อการเกษียณต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
Authors: CHIDAPHA CHUMSAENG
ชิดาภา ชุมแสง
Nattaya Prapaipanich
ณัฐญา ประไพพานิช
Srinakharinwirot University. Faculty of Economics
Keywords: การออมเพื่อการเกษียณภาคบังคับ
การออมเพื่อการเกษียณภาคสมัครใจ
การเติบโตทางเศรษฐกิจ
อนุกรมเวลา
Compulsory Retirement Savings
Voluntary Retirement Savings
Economic Growth
Time Series
Issue Date:  17
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research aims to analyze the relationship between retirement savings and economic growth in Thailand. The results were divided into aggregate analysis and intervals by the Chow test into two periods for structure change analysis, following the pre-period Q1/2007-Q4/2010 and the post-period Q1/2011-Q4/2020. The data were tested with a stationary test by Unit root test and all variables were stationary at a level or I(0). The Co-integration Test by Johansen-Juselius method was used to find that the models tested were significantly co-integrated. Finally, regression problems were examined: endogeneity, multicollinearity, heteroskedasticity and autocorrelation. It was found that all models had no problems. The model was estimated by OLS and four equations to indicate how retirement savings affected Thai economic growth. Model One emphasized the relationship between compulsory retirement savings and economic growth. Model Two emphasized the relationship between voluntary retirement savings and economic growth. Model Three emphasized the relationship between compulsory and voluntary retirement savings and economic growth. Finally, the non-monetary variables were analyzed. Model Four showed the growth of value-based savings was related to economic growth. The results of the OLS suggested that compulsory retirement savings have a greater impact on economic growth than voluntary retirement savings. Model One found that compulsory retirement savings are correlated with economic growth in pre-post periods was SSF33, whereas the results from Model Two showed voluntary retirement savings had no effect on economic growth and in Model Three, retirement savings were correlated with economic growth, in either period. The variables affecting economic growth in the pre-period were SSF33, SSF40 and RMF, and SSF33, SSF39, SSF40 and RMF in the post-period. Regarding value-based retirement savings in Model Four, the relationship between retirement savings and economic growth in the post-period was SSF. In addition, economic variables C, I, G and NX, correlated with economic growth in all periods and models. The results can be used as a guideline to set policies to support higher retirement savings. The conclusions of the four models suggest that compulsory and voluntary retirement savings should be used at the same time, rather than one form. The government sector should consider the appropriateness of the policy to support the savings of the people in each group and support compulsory savings. The government may consider extending retirement age to save money longer. Emphasis should be placed on high-income workers to participate and provide higher returns. It should also be easier to apply for the fund and contributions, as well as raising awareness of the importance of retirement savings to incentivize long-term saving behaviors and benefit the development of the Thai economy for future growth.
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการออมเพื่อการเกษียณกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยทำการวิเคราะห์ผลแบบรวมและแบบแบ่งช่วงโดยใช้ Chow test ในการวิเคราะห์ Structure change ได้เป็น 2 ช่วง ได้แก่ ก่อนการเปลี่ยนแปลง คือ ไตรมาส 1 ปี 2550 - ไตรมาส 4 ปี 2553 และหลังการเปลี่ยนแปลง คือ ไตรมาส 1 ปี 2554 - ไตรมาส 4 ปี 2563 ซึ่งข้อมูลที่นำมาใช้จะถูกตรวจสอบก่อนนำมาวิเคราะห์ผลโดยการทดสอบความนิ่งข้อมูล (Stationary Test) ด้วยวิธี Unit root Test ซึ่งพบว่าตัวแปรทั้งหมดมีความนิ่ง ณ ระดับ level หรือ I(0) และเมื่อทำการทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลภาพในระยะยาว (Cointegration Test) ด้วยวิธี Johansen-Juselius พบว่าทุกแบบจำลองมีข้อมูลตัวแปรที่มีลักษณะร่วมไปด้วยกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สุดท้ายทำการตรวจสอบปัญหาสมการถดถอย ได้แก่ Endogeneity, Multicollinearity, Heteroskedasticity และ Autocorrelation โดยพบว่าทั้ง 4 แบบจำลองทั้งไม่เกิดปัญหาดังกล่าว จากนั้นจึงประมาณค่าแบบจำลองด้วยวิธี OLS ซึ่งแบบจำลองที่ทำการศึกษามีทั้งหมด 4 สมการ เพื่อชี้ให้เห็นว่าการออมเพื่อการเกษียณแต่ละรูปแบบมีผลอย่างไรต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย แบบจำลองที่ 1 จะมุ่งเน้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างการออมเพื่อการเกษียณภาคบังคับต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ แบบจำลองที่ 2 จะมุ่งเน้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างการออมเพื่อการเกษียณภาคสมัครใจต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ แบบจำลองที่ 3 จะมุ่งเน้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างการออมเพื่อการเกษียณทั้งในรูปแบบการออมภาคบังคับและภาคสมัครใจต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และสุดท้ายเนื่องจากในแบบจำลองก่อนหน้ามีการใช้ตัวแปรที่ไม่ใช่มูลค่ามาวิเคราะห์ร่วมกัน ดังนั้นในแบบจำลองที่ 4 จะแสดงให้เห็นว่าการเจริญเติบโตของการออมในเชิงมูลค่ามีความสัมพันธ์ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งผลที่ได้จากการประมาณค่าแบบจำลองด้วยวิธี OLS ชี้ให้เห็นว่าการออมเพื่อการเกษียณภาคบังคับส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยมากกว่าการออมภาคสมัครใจ จากแบบจำลองที่ 1 พบว่าการเติบโตของการออมเพื่อการเกษียณในภาคบังคับมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในช่วงก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ SSF33 ในขณะที่ผลที่ได้จากแบบจำลองที่ 2 พบว่าการออมเพื่อการเกษียณภาคสมัครใจไม่มีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งใน 2 ช่วงเวลา แต่เมื่อพิจารณาถึงการออมเพื่อการเกษียณรวมทั้งภาคบังคับและสมัครใจตามแบบจำลองที่ 3 จะพบว่าการออมเพื่อการเกษียณทั้งในภาคยังคับและสมัครใจมีความสัมพันธ์กับการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในช่วงก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลง โดยตัวแปรที่ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ SSF33, SSF40, RMF ส่วนในช่วงภายหลังการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ SSF33, SSF39, SSF40, RMF และสุดท้ายเมื่อพิจารณาถึงการออมในเชิงมูลค่าในแบบจำลองที่ 4 พบความสัมพันธ์ของการออมเพื่อการเกษียณกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงภายหลังการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น ได้แก่ SSF นอกจากนั้นในส่วนของตัวแปรทางเศรษฐกิจ ได้แก่ C, I, G และ NX พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในช่วงก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงในทุกแบบจำลอง ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางให้รัฐบาล หรือหน่วยงานต่าง ๆ ใช้ในการกำหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนการออมเพื่อการเกษียณให้สูงขึ้น โดยข้อสรุปจากแบบจำลองทั้ง 4 ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยควรสนับสนุนการออมเพื่อการเกษียณในรูปแบบบังคับและสมัครใจไปพร้อม ๆ กันมากกว่าการมุ่งไปที่การออมรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามภาครัฐควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของนโยบายในการสนับสนุนการออมของประชาชนในแต่ละกลุ่ม ในการสนับสนุนการออมภาคบังคับนอกจากการให้สวัสดิการเพื่อดึงดูดแรงงานให้เข้าร่วมการออมในระบบแล้ว รัฐบาลอาจพิจารณาการขยายอายุการเกษียณร่วมด้วยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาในการทำงานและการออมเงินของบุคคลให้ยาวขึ้น และในส่วนของการออมในภาคสมัครใจควรมุ่งเน้นประชาชนในกลุ่มคนที่มีรายได้สูงและกลุ่มแรงงานนอกระบบให้เข้าร่วมการออมภาคสมัครใจให้มากขึ้น โดยอาจให้ผลตอบแทนจากการออมที่สูงขึ้น หรือให้สิทธิประโยชน์แก่สมาชิกตามระยะเวลาในการเข้าร่วมกองทุน อีกทั้งควรเพิ่มช่องทางในการสมัครเข้าร่วมกองทุนและการส่งเงินสมทบให้ง่ายและหลากหลายมากขึ้น รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการออมเพื่อการเกษียณเพื่อจูงใจให้เกิดพฤติกรรมการออมในระยะยาวและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตขึ้นต่อไปในอนาคต
Description: MASTER OF ARTS (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1561
Appears in Collections:Faculty of Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621130325.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.