Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1551
Title: | FACTORS AFFECTING ADMISSION DECISION TO STUDYINGIN THE BACHELOR PROGRAMS AT COLLEGE OF SOCIAL COMMUNICATIONINNOVATION, SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Authors: | ALONGKON AMMAWONGCHIT อลงกรณ์ อัมมวงศ์จิตต์ Srirath Pakdeeronachit ศรีรัฐ ภักดีรณชิต Srinakharinwirot University. College of Social Communication Innovation |
Keywords: | กระบวนการตัดสินใจ การศึกษาต่อ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัย Decision Further Studies Higher Education University |
Issue Date: | 16 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purpose of this research is to study and compare the factors affecting admission decisions to study in Bachelor’s programs at the College of Social Communication Innovation at Srinakharinwirot University for high school students. This study used a mixed methods research process, consisting of qualitative research with data collected from education experts from five educational websites. The qualitative research was conducted using in-depth interviews and quantitative research with data collected from 500 students interested in studying at the College of Social Communication Innovation, Srinakharinwirot University. The study was conducted with nine factors: the image factor, the public relations and media factors, the course factors, the physical environmental factors, the tuition fee factor, the admission system factor, the lecturer factor, the reputation and value factors, and the guidance and referral factors. The results of the research showed that the samples of different ages, the opinions on factors affecting the choice of study did not differ. However, in terms of different genders, school types, academic plans, average family income, and interested majors, the opinions on factors affecting the choice of study were different. These factors affected the choice of admission to study and the highest mean was the Course factor (mean 4.43, S.D. 0.477); followed by the Physical Environmental factor (mean 4.41, S.D. 0.527); Reputation and Value factor (Mean 4.40, S.D. 0.542) ; Image factor (Mean 4.40, S.D. 0.447); Lecturer factor (Mean 4.35, S.D. 0.621) ; Admission System factor (Mean 4.18, S.D. 0.663); Public Relations and Media factors (Mean 4.18, S.D. 0.566); Guidance and Referral factor (Mean 3.80, S.D. 0.836); and Tuition Fee factor (3.80 Mean, S.D. 0.721) respectively. การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกศึกษาต่อวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบไปด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาต่อจากเว็บไซต์ที่ทรงอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักเรียนต่อการเลือกศึกษามหาวิทยาลัยไทย ทั้งหมด 5 เว็บไซต์ ดำเนินการวิจัยโดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มนักเรียนที่สนใจเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 500 คน โดยดำเนินการศึกษาภายใต้ 9 ปัจจัย คือ ด้านภาพลักษณ์ของวิทยาลัย, ด้านสื่อประชาสัมพันธ์, ด้านหลักสูตร, ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ, ด้านค่าธรรมเนียมการศึกษา, ด้านระบบการคัดเลือก, ด้านอาจารย์ผู้สอน, ด้านชื่อเสียงและค่านิยม และ ด้านการแนะแนว / การบอกต่อ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุแตกต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม ไม่แตกต่างกัน แต่ในเพศ, ประเภทโรงเรียน, แผนการเรียน, รายได้เฉลี่ยของครอบครัว และวิชาเอกที่สนใจเข้าศึกษาที่แตกต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม ที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อฯ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัจจัยด้านหลักสูตร (ค่าเฉลี่ย 4.43 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.477) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (ค่าเฉลี่ย 4.41 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.527) ปัจจัยด้านชื่อเสียงและค่านิยม (ค่าเฉลี่ย 4.40 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.542) ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของวิทยาลัย (ค่าเฉลี่ย 4.40 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.447) ปัจจัยด้านอาจารย์ผู้สอน (ค่าเฉลี่ย 4.35 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.621) ปัจจัยด้านระบบการคัดเลือก (ค่าเฉลี่ย 4.18 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.663) ปัจจัยด้านสื่อประชาสัมพันธ์ (ค่าเฉลี่ย 4.18 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.566) ปัจจัยด้านการแนะแนว / การบอกต่อ (ค่าเฉลี่ย 3.80 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.836) ปัจจัยด้านค่าธรรมเนียมการศึกษา (ค่าเฉลี่ย 3.80 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.721) ตามลำดับ |
Description: | MASTER OF ARTS (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1551 |
Appears in Collections: | College of Social Communication Innovation |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs621130438.pdf | 2.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.