Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1407
Title: | EFFECTS OF THE PERCEIVED ORGANIZATIONAL GOAL STRUCTURE ON JOB PERFORMANCE AMONG PRIVATE COMPANY EMPLOYEES: THE MEDIATING ROLE OF GOAL ORIENTATION, EXPECTATION AND VALUE อิทธิพลของการรับรู้โครงสร้างเป้าหมายองค์การที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอกชนโดยมีการตั้งเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์ความคาดหวังและการให้คุณค่าเป็นตัวแปรส่งผ่าน |
Authors: | BANK PONGKAYAN เเบงค์ พงษ์ขยัน Sittipong Wattananonsakul สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล Srinakharinwirot University. Graduate School |
Keywords: | ผลการปฏิบัติงาน การรับรู้โครงสร้างเป้าหมายองค์การ การตั้งเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์ ความคาดหวังความสำเร็จในงาน การให้คุณค่าในงาน Job Performance Perceived Organizational Goal Structure Goal Orientation Expectation Task Value |
Issue Date: | 16 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The objective of this study is to test the causal model of effects of the perceived organizational goal structure on job performance and to examine the mediating role of goal orientation, expectation and value among private company employees. A self-report questionnaire was used to collect data from 353 private company employees with simple random sampling selection. Path analysis was performed to analyze the tested model. The mean age of the sample group was 29 and a mean of five years of working experience. The results revealed that the overall goodness-of-fit statistical analysis showed the tested model of the effects of perceived organizational goal structure on job performance and well-suited with the empirical data. The perceived organizational goal structure, goal orientation, expectation and value positively influenced on job performance, which was described by these factors at 68.5%. The results suggested that perceived organizational goal structure, goal orientation, expectation and value should be utilized in terms of further job performance and an enhancement program for employees. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรับรู้โครงสร้างเป้าหมายองค์การมีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยมีการตั้งเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์ ความคาดหวังความสำเร็จในงาน และการให้คุณค่าในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน และเพื่อตรวจสอบอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของการรับรู้โครงสร้างเป้าหมายองค์การ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานประจำบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 353 คน อายุเฉลี่ย 29 ปี มีอายุงานเฉลี่ย 5 ปี ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดแบบรายงานตนเองด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย และใช้การวิเคราะห์เส้นทางในการประมาณค่าพารามิเตอร์ในโมเดลการวิจัยเพื่อตอบสมมติฐานการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรับรู้โครงสร้างเป้าหมายองค์การมีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยมีการตั้งเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์ ความคาดหวังความสำเร็จในงาน และการให้คุณค่าในงานเป็นตัวแปรส่งผ่านมีความสอดคล้อง กลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการรับรู้โครงสร้างเป้าหมายองค์การ การตั้งเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์ ความคาดหวังความสำเร็จในงาน และการให้คุณค่าในงานมีอิทธิพลทางบวกต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานและร่วมกันอธิบายความแปรปรวนในผลการปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ 68.5 ทั้งนี้การรับรู้โครงสร้างเป้าหมายองค์การมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงาน โดยส่งผ่าน การตั้งเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์ ความคาดหวังความสำเร็จในงาน และการให้คุณค่าในงานอย่างสมบูณ์ผลที่ได้จากการวิจัยนี้สอดคล้องกับสมมติฐานและยืนยันตามทฤษฎีแรงจูงใจความคาดหวัง และคุณค่าการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยาในการสร้างโปรแกรมเพื่อส่งเสริมให้การปฏิบัติงานของพนักงานมีผลลัพธ์ที่สูงขึ้นจึงควรพิจารณาปัจจัยเป้าหมายองค์การ และคุณค่าในงานเป็นองค์ประกอบต่อไป |
Description: | MASTER OF ARTS (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1407 |
Appears in Collections: | Graduate School |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs621130166.pdf | 7.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.