Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1387
Title: THE DEVELOPMENT MODEL FOR RESEARCH COMPETENCY OF TEACHERSUSING APPRECIATIVE INQUIRY UNDER SAMUT PRAKAN PRIMARYEDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของครูโดยใช้สุนทรียแสวงหาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
Authors: TITIYARAT MEEMAITREECHIT
ฐิติญารัตน์ มีไมตรีจิตต์
Dusadee Intraprasert
ดุษฎี อินทรประเสริฐ
Srinakharinwirot University. BEHAVIORAL SCIENCE RESEARCH INSTITUTE
Keywords: สมรรถนะด้านการวิจัย
การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของครู
สุนทรียแสวงหา
research competency
research competency development of teachers
appreciative inquiry
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this research are to study the research performance for the instructional management of the teachers, and to develop and synthesize a model for developing research competency among teachers, and to create a manual about the research competency development of teachers under Samut Prakan Primary Educational Service Area Office One and the implementation of the appreciative inquiry approach to the action research. The research, which was conducted at two schools, one small-sized school and one medium-sized school, consisted of two phases; the first phase constructed the research competency of the teachers using an appreciative inquiry, and the second phase was developing a model to develop the competencies of teachers using appreciative inquiry. Each phase involved four steps: (1) Discovery; (2) Dream; (3) Design, and (4) Destiny. The observation, interview and group discussion were used to collect the data and content analysis was applied to analyze the collected data. The research results illustrated that research competency was comprised of five key competencies: Skills, Knowledge, Self-Concept, Traits, and Motive. The 16 sub-competencies were selected by the researcher, including: (1) problems and results analysis skills; (2) problem-solving skills; (3) behavior observation skills; (4) information retrieval skills; (5) knowledge of research writing; (6) knowledge of research methodology; (7) understanding of causes and individual differences; (8) knowledge of instructional management, (9) the traits of determined people; (10) the traits of the observant; (11) the traits of decision-makers and practitioners; (12) the traits of the responsible people regarding the outcomes; (13) the traits of responsible people regarding the tasks; (14) the traits of inquirers; (15) motives for self-development and work achievement; and (16) motives for work attention. The development model for the research competency of teachers using appreciative inquiry consisted of four elements (the EGAR Model): (1) esteem experiences; (2) goal setting; (3) alternative selections; and (4) reflections. The result of creating the manual involved: (1) title; (2) goals; (3) objectives; (4) benefits; (5) manual users; (6) media, equipment and location; (7) relevant people; (8) key concepts; (9) the driving process; and (10) key activities and details.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการปฏิบัติงานด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของครู 2) พัฒนาและสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของครูโดยใช้สุนทรียแสวงหา และ 3) สร้างคู่มือการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของครูโดยใช้สุนทรียแสวงหา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ใช้แนวคิดสุนทรียแสวงหามาประยุกต์ใช้ในกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการวิจัยกับ 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขนาดกลาง โดยแต่ละโรงเรียนดำเนินการ 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างสมรรถนะด้านการวิจัย และระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบสมรรถนะด้านการวิจัย ซึ่งแต่ละระยะมีกระบวนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอนของสุนทรียแสวงหา ประกอบด้วย 1) การค้นหา (Discovery) 2) การสร้างฝัน (Dream) 3) การออกแบบ (Design) และ 4) การทำให้ถึงเป้าหมาย (Destiny) ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะด้านการวิจัยของครู มีทั้งสิ้น 5 สมรรถนะหลัก คือด้านทักษะ ด้านความรู้ ด้านความเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล และด้านแรงจูงใจ โดยนำมาพัฒนาทั้งสิ้น 16 สมรรถนะย่อยตามการเลือกของผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ 1) ทักษะการคิดวิเคราะห์ปัญหาและผลการวิจัย 2) ทักษะการแก้ปัญหา 3) ทักษะการสังเกตพฤติกรรม 4) ทักษะการสืบค้นข้อมูล 5) ความรู้ด้านรูปแบบการเขียนรายงานการวิจัย 6) ความรู้ด้านกระบวนการวิจัย 7) ความเข้าใจต่อสาเหตุและความแตกต่างรายบุคคล 8) ความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอน 9) ความอดทนมุ่งมั่น 10) ช่างสังเกตและตั้งคำถาม 11) กล้าตัดสินใจและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง 12) ความรับผิดชอบต่อผลที่เกิด 13) ความรับผิดชอบต่องานที่ทำ 14) รักในการแสวงหาความรู้ 15) ด้านแรงจูงใจเรื่องความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จในการพัฒนาตนเองและผลงาน และ 16) ด้านแรงจูงใจเรื่องการเอาใจใส่กับทุกงาน ทั้งนี้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของครูโดยใช้สุนทรียแสวงหา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ (EGAR Model) ได้แก่ 1) ค้นหาประสบการณ์ (Esteem experiences) เป็นการค้นหาศักยภาพของตนเอง จัดการศักยภาพเหล่านั้นมาสู่พลังความคิดเชิงบวก 2) ร่วมตั้งเป้าหมาย (Goal setting) เป็นการนำพลังความคิดเชิงบวกเหล่านั้นมาขยายขอบเขต 3) คัดเลือกแนวทางที่ดี (Alternative selections) เป็นการทำให้ภาพฝันและแนวทางที่ดีที่สุดมาสู่ความเป็นจริง และ 4) สะท้อนผลการเรียนรู้ (Reflections) เป็นการลงมือปฏิบัติตามแผนและนำมาสะท้อนถึงผลการเปลี่ยนแปลง และผลการสร้างคู่มือ ประกอบด้วย 1) ชื่อเรื่อง 2) เป้าหมาย 3) วัตถุประสงค์ 4) ประโยชน์ 5) ผู้ใช้งานคู่มือ 6) สื่อ อุปกรณ์ และสถานที่ 7) บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 8) แนวคิดสำคัญ 9) กระบวนการขับเคลื่อน และ 10) กิจกรรมหลักและรายละเอียด
Description: DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1387
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs581150036.pdf9.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.