Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1375
Title: BANGKOK PEOPLE’S AWARENESS OF PERSONAL INFORMATION PROTECTION FROM CORPORATE USAGE
การตระหนักรู้เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ในภาคธุรกิจของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
Authors: SUWAJANEE JIWAWILAIKARN
สุวจนี จิวะวิไลกาญจน์
Srirath Pakdeeronachit
ศรีรัฐ ภักดีรณชิต
Srinakharinwirot University. College of Social Communication Innovation
Keywords: การปกป้องสิทธิส่วนบุคคล
การตระหนักรู้
การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจ
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562
PDPA
PDPA
Personal Privacy Protection
Corporate usage
Bangkok metropolitan
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The aims of this research are as follows: (1) to explain the demographic characteristics regarding privacy protection by using personal data in the business sector; (2) to explain information exposure behavior regarding privacy protection from using personal data in the business sector; and (3) to analyze the differences between the demographic characteristics and the awareness of people in Bangkok on privacy protection and using personal data in the business sector. The quantitative research methodology was conducted using the accidental sampling technique were utilized with open-ended questionnaires to collect data from the 440 respondents. The sample group were selected from a population aged 18-60, and residing and working in Bangkok metropolitan area. Moreover, they also exposed information related to the privacy protection from using personal data in the business sector, with at least one channel or medium. The research findings revealed that most of the samples were female, accounting for 64.32%; aged 41-50, accounting for 34.55%; graduated with a Bachelor's degree, accounting for 59.77%; worked as employees or private company staff, accounting for 57.05% and also had an average monthly income ranging from 15,001- 35,000 Baht, accounting for 27.05%. The sample reported personal data infringement by the business sector, causing trouble or damage, accounting for 85%, classified by infringements on privacy rights from insurance, credit limit or credit card offerings, beauty products or fitness presentations, respectively. Most of the respondents were aware of the law on the protection of personal data and infringement of personal data privacy rights, represented 61.36%. Most did not provide religious information since they thought that it was not related to food services and did not provide such information because it was required and represented 54.78%. Nevertheless; they provided religious information due to food services in line with religious beliefs, and was at 37.87%. Most of the respondents acknowledged that consent to access personal data was problematic due to insecurity about the disclosure of personal information at 70% and they exposed information related to the privacy protection from personal data in the business sector through internet and social media, television media and personal media, consecutively. The intensive level of exposure to privacy data protection on personal data in the business sector included reading, watching and listening while doing other activities. Other than that, the age difference led to a different awareness on the privacy protection from using personal data in the business sector.
การวิจัยเรื่อง “การตระหนักรู้เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจของประชาชนในกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ (1) เพื่ออธิบายคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจ (2) เพื่ออธิบายพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจ และ (3) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะทางประชากรกับการตระหนักรู้เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจของประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ในการเก็บข้อมูล ประกอบกับใช้แบบสอบถามแบบปลายปิดในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 440 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่จะทำการศึกษานี้ คือ ประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปี - 60 ปี ที่พำนักอาศัยและประกอบอาชีพในกรุงเทพมหานคร โดยในรอบ 6เดือนที่ผ่านมา เป็นผู้ที่เคยเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจ อย่างน้อย 1 สื่อ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (64.32%) อายุ อยู่ในช่วง 41 ปี – 50 ปี (34.55%) จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี (59.77%) มีอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัท – เอกชน (57.05%) และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 - 35,000 บาท (27.05 %) เคยถูกล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลจากภาคธุรกิจ จนสร้างความเดือดร้อนรำคาญ หรือสร้างความเสียหาย (85%) โดยจำแนกเป็น การถูกล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวจากการเสนอขายประกันภัย  การเสนอวงเงินสินเชื่อ/บัตรเครดิต และการเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม/ฟิตเนส ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ทราบรายละเอียดกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล (61.36 %) โดยส่วนใหญ่จะไม่ให้ข้อมูลด้านศาสนา เพราะข้อมูลด้านศาสนาไม่เกี่ยวกับการบริการเรื่องอาหาร และไม่ให้ข้อมูลเพราะไม่อยากได้รับการบริการ (54.78%) ให้ข้อมูลเพราะต้องการได้รับการบริการเรื่องอาหารที่สอดคล้องกับความเชื่อทางศาสนา (37.87%) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ทราบว่าการยินยอมในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลมีปัญหา เนื่องจากผู้ให้ข้อมูลมีความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (70%) และมีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต(Internet)/สื่อสังคมออนไลน์(Social Media) สื่อโทรทัศน์ และสื่อบุคคล ตามลำดับ ระดับความเข้มข้นในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจในภาพรวม คือ อ่าน/ชม/ฟัง ขณะทำกิจกรรมอื่นไปด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่มีอายุที่แตกต่างกันจะมีการตระหนักรู้การปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจแตกต่างกัน
Description: MASTER OF ARTS (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1375
Appears in Collections:College of Social Communication Innovation

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621130437.pdf20.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.