Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1279
Title: DEVELOPMENT OF AN INTEGRATED LEARNING EXPERIENCE MODEL IN CAPACITY BUILDING EXECUTIVE FUNCTIONS (EF)  FOR EARLY CHILDHOOD
การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัย
Authors: WATTANA NANTAKHIEN
วรรธนา นันตาเขียน
Kittichai Suthasinobol
กิตติชัย สุธาสิโนบล
Srinakharinwirot University. Faculty of Education
Keywords: รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ
ความสามารถในการคิดเชิงบริหาร
เด็กปฐมวัย
Integrated Learning Experience Management Model
Executive Functions (EF)
Early Childhood
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research are as follows: (1) to study the Executive Functions (EF) attributes for early childhood students; (2) to develop an integrated learning experience model in capacity building for EF among early childhood students; (3) to study the efficiency of the integrated learning experience model in capacity building for EF among early childhood students; and (4) to study the effectiveness of integrated learning experience model in capacity building for EF among early childhood students. This study consisted of four phases: (1) studying basic information and EF for early childhood students; (2) developing and monitoring the efficiency of the integrated learning experience model in capacity building for EF for early childhood students; (3) studying the effectiveness of the integrated learning experience model in capacity building for EF among early childhood students; and (4) developing an integrated learning experience model in capacity building for EF among early childhood students. The results were as follows: (1) EF for early childhood were found in three areas: inhibitory control, idea shift, and emotional control; (2) integrated learning experience models in capacity building for EF among early childhood students; (3) the effectiveness of the integrated learning experience model for capacity building among EF among early childhood students at the highest level (X ̅ = 4.95, S.D. = .154); (4) the average score after using the integrated learning experience model in capacity building for EF among early childhood students is higher than before implementing integrated learning experience model in capacity building for EF among early childhood students difference was statistically significant at a level of .05; and (5) teachers and parents are satisfied with the integrated learning experience model for capacity building among EF among early childhood students (X ̅ = 4.54, S.D. = .535).   
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1. ศึกษาคุณลักษณะความสามารถในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัย  2. พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัย 3. ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัย  4. ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัย การดำเนินการวิจัยมี 4 ตอน คือ 1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและคุณลักษณะความสามารถในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัย  2. การพัฒนาและตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัย  3. การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัย 4. การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัยให้มีความสมบูรณ์  ผลการศึกษาดังนี้  1. การศึกษาคุณลักษณะความสามารถในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัย มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการยับยั้งชั่งใจ ด้านการเปลี่ยนความคิดและด้านการควบคุมอารมณ์  2. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัย มีขั้นตอนทั้งสิ้น 4 ขั้นตอน  3. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับมากที่สุด  4. ค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัย สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัย  5. ครูและผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับมากที่สุด  ซึ่งการพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงบริหาร  ทำให้เด็กสามารถจัดการกับการทำงานได้สำเร็จด้วยตนเอง ปฏิบัติงานต่างๆ ได้อย่างประสบความสำเร็จ และเป็นเด็กที่มีคุณภาพต่อประเทศชาติในอนาคต
Description: DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1279
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591150011.pdf4.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.