Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1273
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorMALIWAN NGAMYINGen
dc.contributorมะลิวรรณ งามยิ่งth
dc.contributor.advisorRungtiwa Yamrungen
dc.contributor.advisorรุ่งทิวา แย้มรุ่งth
dc.contributor.otherSrinakharinwirot University. Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2021-09-08T12:09:21Z-
dc.date.available2021-09-08T12:09:21Z-
dc.date.issued16/8/2021
dc.identifier.urihttp://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1273-
dc.descriptionDOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.)en
dc.descriptionปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.abstractThe objectives of this study are as follows: (1) to develop the components and mathematical literacy indicators for primary students; (2) to develop a mathematical literacy curriculum for primary students; and (3) to study the efficiency of mathematical literacy curriculum. The sample in this study consisted of 30 fifth-grade students with purposive sampling at Srinakharinwirot Prasarnmit Demonstration School (Primary) in the second term of the 2020 academic year. The instruments used in this study included an evaluation form for The Appropriateness of the Components and Mathematical Literacy Indicators for Primary Students, The Mathematical Literacy Curriculum for Primary Students, an evaluation form for structuring curriculum, a Mathematical Literacy Checklist form, a Mathematical Literacy Assessment, and an evaluation form for the Satisfaction of the Curriculum. The development of the mathematical literacy curriculum had five steps: (1) to study basic information; (2) to establish the components, indicators and analyzing the data with mean and standard deviation; (3) to structure and develop the curriculum and evaluate the efficiency of its structure by specialists and analyzing the data by mean, standard deviation and IOC; (4) to experiment and evaluate the sample for 12 weeks (once a week; two hours each session and a one-hour post-test), with a 25 hour period of experimentation and analyzing the data with mean and standard deviation; and (5) to improve the curriculum. These results improved and developed the research for publication. The results has revealed that: (1) the components and mathematical literacy indicators for primary school students consisted of three main components, ten subcomponents and ten indicators, as follows: (1) the mathematical contents involved two subcomponents and two indicators; (2) mathematical skills and processes have four subcomponents, four indicators, and (3) the situation/context had four subcomponents and four indicators; (2) the mathematical literacy curriculum had two sets of documents, curriculum documents and material. The results showed that the evaluation of the efficiency and consistency of the components was at a high level and the curriculum components were consistent; (3) the effectiveness of mathematical literacy curriculum for primary students found that the outcomes of all units were at a satisfactory level. The post-test scores were at 6.83, standard deviation at 1.46 and higher than the cut-off score (6.00). The satisfaction of the curriculum was also at a satisfactory level, with a mean of 4.75 and a standard deviation of 2.73en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) พัฒนาหลักสูตรความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงอย่างมีจุดมุ่งหมาย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา หลักสูตรความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา แบบประเมินประสิทธิภาพโครงร่างหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ แบบบันทึกผลความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ แบบทดสอบความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา และแบบประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตร ขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตรมี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 การสร้างและการพัฒนาหลักสูตร และประเมินประสิทธิภาพของโครงร่างหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความสอดคล้อง IOC ขั้นตอนที่ 4 การทดลองใช้และการประเมินผลหลักสูตร นำหลักสูตรไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง และทดสอบหลังเรียน 1 ชั่วโมง รวมใช้เวลาทดลองทั้งสิ้น 25 ชั่วโมง และประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 5 การปรับปรุงหลักสูตร ผู้วิจัยนำผลที่ได้จากการทดลองในขั้นตอนที่ 4 มาปรับปรุงแก้ไขเพื่อได้หลักสูตรฉบับสมบูรณ์พร้อมนำไปเผยแพร่ ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 10 องค์ประกอบย่อยและ 10 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 เนื้อหาคณิตศาสตร์ มี 2 องค์ประกอบย่อย 2 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์มี 4 องค์ประกอบย่อย 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 สถานการณ์/บริบทมี 4 องค์ประกอบย่อย 4 ตัวบ่งชี้ 2) หลักสูตรความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วยเอกสาร 2 ชุด ได้แก่ เอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร ผลการประเมินประสิทธิภาพในด้านความเหมาะสมของหลักสูตรและความสอดคล้องขององค์ประกอบในหลักสูตรพบว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมากและองค์ประกอบของหลักสูตรมีความสอดคล้องกัน 3) ประสิทธิผลของหลักสูตรความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา พบว่านักเรียนมีผลการประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์จากการบันทึกผลความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ระหว่างเรียนของทุกหน่วยการเรียนรู้เฉลี่ยในระดับดี จากการทดสอบหลังเรียนโดยแบบทดสอบ ปรากฎว่าคะแนนที่ได้จากการทดสอบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.46 ซึ่งมีค่ามากกว่าคะแนนจุดตัด (6.00) และผลการประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตรอยู่ในเกณฑ์ดี มีค่าเฉลี่ย 4.75  และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.73th
dc.language.isoth
dc.publisherSrinakharinwirot University
dc.rightsSrinakharinwirot University
dc.subjectความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์th
dc.subjectการพัฒนาหลักสูตรth
dc.subjectMathematical Literacyen
dc.subjectcurriculum developmenten
dc.subjectPrimary school studentsen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleTHE DEVELOPMENT OF MATHEMATICAL LITERACY CURRICULUM FOR PRIMARY SCHOOL STUDENTSen
dc.titleการพัฒนาหลักสูตรความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาth
dc.typeDissertationen
dc.typeปริญญานิพนธ์th
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs571150010.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.