Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1268
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPHAKAMAS RATANABUTHen
dc.contributorผกามาศ รัตนบุษย์th
dc.contributor.advisorSupranee Kwanboonchanen
dc.contributor.advisorสุปราณี ขวัญบุญจันทร์th
dc.contributor.otherSrinakharinwirot University. Faculty of Physical Educationen
dc.date.accessioned2021-09-08T11:49:37Z-
dc.date.available2021-09-08T11:49:37Z-
dc.date.issued16/8/2021
dc.identifier.urihttp://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1268-
dc.descriptionDOCTOR OF EDUCATION (Ed.D.)en
dc.descriptionการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)th
dc.description.abstractThis research and development study aims to study the following: (1) to study the needs and guidelines for the development of the Bachelor of Education in the Physical Education and Recreation program; (2) to development of the Bachelor’s degree in Physical Education and Recreation; and (3) to assess the feasibility of the implement. The stakeholders of this research were employers, graduates, lecturers/curriculum lecturers, and experts. The tools used in this research were a needs assessment questionnaire, a semi-structured interview, and draft of the curriculum. The data was analyzed by mean, standard deviation and PNI Modified The results revealed the following: (1) the three highest ranked needs were specific physical education and recreation skills in PNI Modified= 0.83, knowledge PNI Modified = 0.26 and the related skills between person and responsibility PNI Modified = 0.25. The five highest ranked subjects were History and Philosophy of Physical Education and Recreation PNI Modified = 1.18, Curriculum and Teaching in Physical Education PNI Modified = 0.67, English for Physical Education and Recreation PNI Modified = 0.23, Methods of Teaching Swimming, Life-Saving, Water Safety PNI Modified = 0.18, and Methods of Teaching Volleyball PNI Modified = 0.16; (2) the Bachelor of Education in the Physical Education and Recreation program can be classified into four categories: (2.1) general information, including the name of curriculum, degree name and major name, the courses included in the major and credits throughout the program; (2.2) the curriculum has specific information, including curriculum philosophy and the purposes of the curriculum; (2.3) an education delivery system, including curriculum structure and operations; (2.4) the results of learning including teaching strategies and evaluation, course descriptions, a chart on the distribution of responsibilities for academic results from the curriculum to the courses; (3) the mean and standard deviation of the feasibility assessment results in order to implement the program were 2.63 (S = 0.43) and showed that the program was very appropriate and the possibility of course was at the highest level at 3.60-5.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ (2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ (3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการนำหลักสูตรไปใช้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ ผู้ใช้บัณฑิต บัณฑิต อาจารย์ผู้สอน/อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการจำเป็น แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและหลักสูตรฉบับร่าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ PNI Modified ผลการวิจัยพบว่า (1) ความต้องการจำเป็นเมื่อจัดอันดับ 3 ด้านสูงสุด ได้แก่ อันดับที่ 1 ด้านทักษะเฉพาะทางพลศึกษาและนันทนาการ PNI Modified= 0.83 อันดับที่ 2 ด้านความรู้ PNI Modified = 0.26 และอันดับที่ 3 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ PNI Modified = 0.25 และรายวิชา 5 อันดับสูงสุด ได้แก่ รายวิชาประวัติ ปรัชญาพลศึกษาและนันทนาการ PNI Modified = 1.18 รายวิชาหลักสูตรและการสอนพลศึกษา PNI Modified = 0.67 รายวิชาภาษาอังกฤษทางพลศึกษาและนันทนาการ PNI Modified = 0.23  รายวิชาหลักและวิธีการสอนว่ายน้ำ การช่วยคนตกน้ำ PNI Modified = 0.18  และรายวิชาหลักและวิชาการสอนวอลเลย์บอล PNI Modified = 0.16 ตามลำดับ (2) หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ จำแนกรายละเอียดออกเป็น 4 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา วิชาเอก จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร หมวดที่ 2 ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร ปรัชญาของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร และหมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล คำอธิบายรายวิชา และแผนผังแสดงการกระจายความรับผิดชอบผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (3) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลการประเมินความเป็นไปได้ในการนำหลักสูตรไปใช้  เท่ากับ 2.63 (S = 0.43) ถือว่ามีความเหมาะสมมากและความเป็นไปได้ของรายวิชามีระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าระหว่าง 3.60 – 5th
dc.language.isoth
dc.publisherSrinakharinwirot University
dc.rightsSrinakharinwirot University
dc.subjectการพัฒนาหลักสูตรth
dc.subjectสาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการth
dc.subjectCurriculum developmenten
dc.subjectPhysical Education and Recreation majorsen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleTHE CURRICULUM DEVELOPMENT OF BACHELOR OF EDUCATION DEGREE PROGRAM MAJOR IN PHYSICAL EDUCATION AND RECREATIONen
dc.titleการพัฒนาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ th
dc.typeDissertationen
dc.typeปริญญานิพนธ์th
Appears in Collections:Faculty of Physical Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601150054.pdf13.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.