Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1192
Title: | COMPETITIVE ADVANTAGE INFLUENTIALIN FACEBOOK-BASED CUSTOMERS' DECISION MAKINGTO PURCHASE PLAYSTATION PRODUCT AND SERVICE FROM RETAIL STORE ความได้เปรียบในการแข่งขันที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์และบริการ PlayStation ผ่านร้านค้าปลีก ของผู้บริโภคในกลุ่ม Facebook |
Authors: | THEPRANGSON SRITHONGIN เทพรังสรรค์ ศรีทองอินทร์ Nak Gulid ณักษ์ กุลิสร์ Srinakharinwirot University. Faculty of Business Administration for Society |
Keywords: | ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้า ความได้เปรียบในการแข่งกัน การตัดสินใจซื้อ 4C’s Marketing Mix Competitive advantage Decision making process |
Issue Date: | 14 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This research aims to study the competitive advantage (CA) influencing Facebook (FB)-based customer decision-making on purchasing PlayStation (PS) products and services from retail stores. The sample consisted of 400 customers aged 18-54 and from FB groups related to PS products. Google Forms were used for data collection and statistical data analysis was in the form of a percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was conducted through independent sample t-test, one-way analysis of variance, Pearson product moment correlation, and multiple regression analysis. The research findings revealed the following: (1) the majority of customers were males, aged between 27-35, single, widowed, divorced or separated, most graduated with a Bachelor's degree, worked at private companies, and earned an average salary between 12,000-21,499 Baht; meanwhile, there were 3-4 people in most of their families; (2) most customers held good opinions about the 4C’s Marketing mix (4C's); that is, a ‘very good level’ were concerned with convenience (CV), whereas customer solution (CS), communication (CM), and customer cost (CC) were at a ‘good level’; (3) most customers had good views on CA differentiation, quick response, and focus were at a ‘very good level’, while cost leadership was associated with the ‘good level’. The results of the hypotheses testing revealed the following: (1) the different ages and average salaries of the customers had a significant effect on the FB-based customer decision making to purchase PS products and services from retail stores at a statistically significant level of 0.05; (2) the 4C's was highly correlated with CA and establishing a high correlation with CV and CM, with a moderate relationship with both CC and CS at a statistically significant level of 0.01; (3) CA differentiation and focus positively affected purchasing decisions on account of statistically significant level of 0.01 by an adjusted R2 equal to 37.3%. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความได้เปรียบในการแข่งขันที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์และบริการ PlayStation ผ่านร้านค้าปลีก ของผู้บริโภคในกลุ่ม Facebook กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคในกลุ่ม Facebook ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ PlayStation และมีอายุระหว่าง 18-54 ปี จำนวน 400 คน โดยใช้ Google form เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานเพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างโดยการหาค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1)ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง 27-35 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 12,000-21,499 บาท มีขนาดของครอบครัว 3-4 คน และมีสถานภาพโสด/หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ (2)ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้าโดยรวมอยู่ในระดับดี ด้านความสะดวกสบายที่ลูกค้าได้รับอยู่ในระดับดีมาก โดยที่ด้านการตอบสนองความต้องการลูกค้า ด้านการสื่อสารกับลูกค้า และด้านต้นทุนที่ลูกค้าต้องจ่ายอยู่ในระดับดี (3)ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความได้เปรียบในการแข่งขันโดยรวมอยู่ในระดับดี ด้านการสร้างความแตกต่าง ด้านการตอบสนองอย่างรวดเร็ว และด้านการมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มอยู่ในระดับดีมาก โดยที่ด้านการเป็นผู้นำด้านต้นทุนอยู่ในระดับดี ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า (1)ผู้บริโภคที่มีอายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับ PlayStation ผ่านร้านค้าปลีกแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2)ส่วนประสมการตลาดในมุมมองของลูกค้าโดยรวมมีความสัมพันธ์กับความได้เปรียบในการแข่งขันโดยรวมในระดับสูงไปในทิศทางเดียวกัน ด้านความสะดวกสบายที่ลูกค้าได้รับ และด้านการสื่อสารกับลูกค้ามีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงไปในทิศทางเดียวกัน โดยที่ด้านต้นทุนที่ลูกค้าต้องจ่าย และด้านการตอบสนองความต้องการผู้บริโภค อยู่ในระดับปานกลางไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3)ความได้เปรียบในการแข่งขัน ได้แก่ การสร้างความแตกต่าง และการมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์และบริการ PlayStation ผ่านร้านค้าปลีก ของผู้บริโภคในกลุ่ม Facebook ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถอธิบายได้ร้อยละ 37.3 |
Description: | MASTER OF BUSINESS ADMINISTRATION (M.B.A.) บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1192 |
Appears in Collections: | Faculty of Business administration for society |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs601130381.pdf | 3.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.