Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1156
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPIYADA DAOLOMCHANen
dc.contributorปิยะดา ดาวล้อมจันทร์th
dc.contributor.advisorSasipimol Prapinpongsakornen
dc.contributor.advisorศศิพิมล ประพินพงศกรth
dc.contributor.otherSrinakharinwirot University. Faculty of Humanitiesen
dc.date.accessioned2021-07-09T09:16:09Z-
dc.date.available2021-07-09T09:16:09Z-
dc.date.issued16/7/2021
dc.identifier.urihttp://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1156-
dc.descriptionMASTER OF ARTS (M.A.)en
dc.descriptionศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)th
dc.description.abstractThis research aims to study information-seeking behavior and the obstacles to acquire information among Thai Generation Y tourists using qualitative research methods. The main informants were 30 Thai Generation Y tourists aged between 19-38. The tool used for collecting the data was an interview form. The results of the research showed that they had tourism information seeking behavior and performed five activities which were as follows: 1. Identify information needs, tourists plan to search for tourism information in advance and by themselves by paying more attention to information on tourist attractions, accommodation, food and transportation methods. They used online information and publications both in the form of images, texts and videos from internet resources, people, tourism exhibitions and publications; 2. Location and access, tourists begin by exploring the information according to the required content in-depth on each issue and by starting a search with search engines and social media, using keyword searching techniques, searching for term limits, using hashtags and location pinning; 3. Verifying and considering, 1) being up-to-date by selecting information from the most recent year but not exceeding 1-2 years 2) accuracy and completeness by comparing information from multiple sources to verify accuracy and to cover all of the required areas 3) reliability by considering the reputation of the page or website and the engagement rate of users; 4. Gathering and using information, through writing notes by hand, recorded on computers and electronic devices such as smartphones; and 5. Evaluation, tourists unofficially assess and judge the process after applying the information. It reflects that the information collected and used is quite relevant and at the end of the tourist period, there was also a review of the problems encountered during information seeking in order to improve the information acquisition for the next trip. As for the obstacles to acquiring information, such as personal characteristics, it was found that the tourists had foreign language problems and could not read and understand and the information sources found that information which was not current caused discrepancies, especially information about tourist attractions, prices and routes, etc.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ และอุปสรรคในการแสวงหาสารสนเทศของนักท่องเที่ยวไทยเจเนเรชันวาย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นักท่องเที่ยวไทยเจเนเรชันวาย อายุระหว่าง 19-38 ปี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวมีพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศด้านการท่องเที่ยว โดยมีการปฏิบัติ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. กำหนดสารสนเทศที่ต้องการ นักท่องเที่ยวมีการวางแผนการค้นหาสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวล่วงหน้าด้วยตนเอง โดยให้ความสำคัญกับเนื้อหาสารสนเทศด้านสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก อาหาร และวิธีการเดินทาง ใช้สารสนเทศประเภทออนไลน์และสิ่งพิมพ์ ทั้งในรูปแบบภาพ ข้อความ และวิดิทัศน์ จากแหล่งสารสนเทศอินเทอร์เน็ต บุคคล งานนิทรรศการการท่องเที่ยว และสิ่งพิมพ์ 2. ค้นหาและเข้าถึงสารสนเทศ  นักท่องเที่ยวเริ่มต้นสำรวจข้อมูลตามขอบเขตเนื้อหาที่ต้องการแบบเจาะลึกในแต่ละประเด็น โดยเริ่มต้นค้นหาจากโปรแกรมค้นหาและสื่อสังคมออนไลน์ และใช้เทคนิคการค้นด้วยคำสำคัญ การจำกัดคำค้น การใช้แฮชแท็ก และการปักหมุดสถานที่ท่องเที่ยว 3. ตรวจสอบและการประเมินสารสนเทศ พิจารณาจาก 1) ความทันสมัย โดยเลือกสารสนเทศจากปีล่าสุดหรือย้อนหลังไม่เกิน 1 - 2 ปี 2) ความถูกต้องและความสมบูรณ์ โดยเปรียบเทียบสารสนเทศจากหลายแหล่งเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและครอบคลุมทุกประเด็นที่ต้องการ 3) ความน่าเชื่อถือ พิจารณาความมีชื่อเสียงของเพจหรือเว็บไซต์ และอัตราการวัดผลตอบรับจากผู้ใช้งาน 4. รวบรวมและการนำสารสนเทศไปใช้ โดยวิธีการเขียนบันทึกด้วยมือ และบันทึกลงบนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ตโฟน เป็นต้น 5. ประเมินผลลัพธ์ นักท่องเที่ยวมีการประเมินผลลัพธ์อย่างไม่เป็นทางการหลังนำสารสนเทศไปใช้ โดยสะท้อนว่าข้อมูลที่รวบรวมและนำไปใช้ตรงกับความต้องการค่อนข้างมาก และเมื่อสิ้นสุดการท่องเที่ยวยังมีการทบทวนปัญหาที่พบระหว่างการแสวงหาสารสนเทศเพื่อจะได้นำไปปรับปรุงการแสวงหาสารสนเทศสำหรับการท่องเที่ยวครั้งต่อไป ส่วนอุปสรรคในการแสวงหาสารสนเทศ ได้แก่ ด้านลักษณะเฉพาะบุคคล พบว่า นักท่องเที่ยวมีปัญหาด้านภาษาต่างประเทศที่ไม่สามารถอ่านและเข้าใจได้ และด้านแหล่งสารสนเทศ ที่พบว่าให้สารสนเทศไม่เป็นปัจจุบัน จึงทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน โดยเฉพาะสารสนเทศเกี่ยวสถานที่ท่องเที่ยว ราคา และเส้นทางในการเดินทาง เป็นต้นth
dc.language.isoth
dc.publisherSrinakharinwirot University
dc.rightsSrinakharinwirot University
dc.subjectพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศth
dc.subjectนักท่องเที่ยวไทยth
dc.subjectเจเนเรชันวายth
dc.subjectนักท่องเที่ยวไทยเจเนเรชันวายth
dc.subjectInformation-Seeking behavioren
dc.subjectThai touristsen
dc.subjectGeneration Yen
dc.subjectThai Generation Y Touristsen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.titleINFORMATION-SEEKING BEHAVIORS OF THAI GENERATION Y TOURISTSen
dc.titleพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนักท่องเที่ยวไทยเจเนเรชันวายth
dc.typeThesisen
dc.typeปริญญานิพนธ์th
Appears in Collections:Faculty of Humanities

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs602130015.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.