Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1141
Title: INFLUENCES OF DOMINO THEORY OF ACCIDENT CAUSATIONTOWARD ACCIDENT SEVERITY AMONG WORKERSOF ONE GLASS FACTORY IN SAMUTPRAKARN
ปัจจัยจากทฤษฎีโดมิโนที่มีอิทธิพลต่อระดับความรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุของพนักงานโรงงานผลิตกระจกแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ
Authors: NAVAPAT ANANTASILAKUL
นวพัฒน์ อนันตศิลากุล
Tanapoom Ativetin
ธนภูมิ อติเวทิน
Srinakharinwirot University. Faculty of Business Administration for Society
Keywords: ทฤษฎีโดมิโน
ระดับความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุ
โรงงานผลิตกระจก
สมุทรปราการ
Domino Theory
Accident severity
Glass factory
Samutprakarn
Issue Date:  14
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The aims of the purposes of this independent study were as follows: (1) to compare the differences between social environment and ancestry in terms of accident severity from work; (2) to study the influence of Domino theory with regard to accident severity from work; (3) to study the influence of accidents on accident severity from work; (4) to study the influence of injury in relation to accident severity from work. The data was collected with questionnaires for 280 workers in glass factory. The data was analyzed by descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, standard deviation and inferential statistics and consisted of an independent sample t-test, Analysis of Variance (ANOVA) and Simple Linear Regression, with a 0.05 level of statistical significance. According to the results, most respondents were males, aged between 18-25, with work experience of three to four years, in good health, with a secondary-level education, average working hours of more than eight hour per day and overtime work between 1-2 days per week. The results from hypothesis revealed the following: (1) social environment and ancestry did not affect accident severity from work; (2) Domino theory, in the dimensions of fault of person, unsafe action and unsafe conditions effecting accident severity from work with the Coefficient of Multiple Determination at 50.3%, 42.4% and 29.8%, respectively; (3) the accident dimension of cut by sharp objects effected accident severity in terms of major and minor injury levels with the Coefficient of Multiple Determination at 33.2% and 44.2%; (4) the accident dimension of crash by object effected  accident severity on minor injury levels with the Coefficient of Multiple Determination (42.4%); (5) accident dimension slip effect to accident severity on the major injury level with the Coefficient of Multiple Determination (43.2%); (6) injury dimension of the bruise effect on accident severity on the minor injury level with the Coefficient of Multiple Determination (43.2%); and (7) injury dimension wound effect to accident severity on major and minor injury levels with the Coefficient of Multiple Determination (32.1% and 41.0%).  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความแตกต่างของภูมิหลังของบุคคลของพนักงานกับระดับความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยจากทฤษฎีโดมิโนที่มีผลต่อระดับความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของพนักงาน 3) ศึกษาอิทธิพลของการเกิดอุบัติเหตุที่มีผลต่อระดับความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของพนักงาน 4) ศึกษาอิทธิพลของการบาดเจ็บที่มีผลต่อระดับความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับพนักงานโรงงานผลิตกระจกแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 280 คน และวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วยการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน การทดสอบความแตกต่างของความแปรปรวนของสองประชากร และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายที่มีอายุระหว่าง 18 – 25 ปี มีอายุการปฏิบัติงานระหว่าง 3 – 4 ปี ไม่มีโรคประจำตัว สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน และทำงานล่วงเวลา 1 – 2 วันต่อสัปดาห์ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) พนักงานที่มีภูมิหลังแตกต่างกันมีระดับความรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุไม่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยจากทฤษฎีโดมิโนด้านความบกพร่องส่วนบุคคล และการกระทำหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยมีอิทธิพลต่อระดับความรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุในระดับที่สามารถทำงานได้ต่อหลังจากปฐมพยาบาล โดยมีค่าน้ำหนักพยากรณ์ร้อยละ 50.3, 42.4 และ 29.8  3) ด้านการบาดจากของมีคม มีอิทธิพลต่อระดับความรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุในระดับทำงานไม่ได้ชั่วคราว และสามารถทำงานได้ต่อหลังจากปฐมพยาบาล โดยมีค่าน้ำหนักพยากรณ์ร้อยละ 33.2 และ 44.2 4) ด้านการกระแทกกับวัตถุ มีอิทธิพลต่อระดับความรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุในระดับที่สามารถทำงานได้ต่อหลังจากปฐมพยาบาล โดยมีค่าน้ำหนักพยากรณ์ร้อยละ 42.4 5) ด้านการสะดุดล้มไม่มีอิทธิพลต่อระดับความรุนแรงทำงานไม่ได้ชั่วคราว มีอิทธิพลต่อระดับความรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุในระดับที่สามารถทำงานได้ต่อหลังจากปฐมพยาบาล โดยมีค่าน้ำหนักพยากรณ์ร้อยละ 43.2 6) ด้านการฟกช้ำมีอิทธิพลต่อระดับความรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุในระดับที่สามารถทำงานได้ต่อหลังจากปฐมพยาบาล โดยมีค่าน้ำหนักพยากรณ์ร้อยละ 43.2 7) ด้านการเป็นแผลมีอิทธิพลต่อระดับความรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุในระดับทำงานไม่ได้ชั่วคราว และสามารถทำงานได้ต่อหลังจากปฐมพยาบาล โดยมีค่าน้ำหนักพยากรณ์ร้อยละ 32.1 และ 41.0
Description: MASTER OF BUSINESS ADMINISTRATION (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1141
Appears in Collections:Faculty of Business administration for society

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611130369.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.