Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1131
Title: | AIDA MODEL RESPONSE PROCESS AFFECTING POST-PURCHASE BEHAVIOR ON JAPANESE FOOD AT KOUEN SUSHI BAR IN THE BANGKOK METROPOLITAN AREA กระบวนการตอบสนอง AIDA MODEL ที่มีผลต่อพฤติกรรมภายหลังการบริโภคอาหารญี่ปุ่นของร้านโคเอ็น ซูชิบาร์ในเขตกรุงเทพมหานคร |
Authors: | WARUNADA SIRAHANSAKUL วฤณดา สิรหาญสกุล Supada Sirikutta สุพาดา สิริกุตตา Srinakharinwirot University. Faculty of Business Administration for Society |
Keywords: | กระบวนการตอบสนอง AIDA MODEL พฤติกรรมภายหลังการบริโภค AIDA model response process Post-purchase behavior |
Issue Date: | 14 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The objective of this research is to study the post-purchasing behavior on Japanese food and the AIDA model response process on the Kouen Sushi Bar in the Bangkok metropolitan area. A questionnaire was used as a research tool. The research results illustrated that the respondents gave importance to the AIDA model response process of Japanese food at Kouen Sushi Bar both overall and in all aspects, involving the demand, purchasing, intention, and interest, which were at a high level, respectively. The hypothesis test results showed that the respondents who had different income levels had different post-purchase behavior on Japanese food with a statistical significance of 0.05. The consumer behavior, the frequency and cost of consumption, related to the post-purchase behavior on Japanese food with a statistical significance of 0.05, which was at a high level. Further, the AIDA model response process, which were intention, interest and purchasing, affected post-purchase behavior of Japanese food by 58.1%, with a statistical significance of 0.05. The research results were very useful for restaurant entrepreneurs to plan or improve the service to respond to the consumer demand for their highest satisfaction and revisit. การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมภายหลังการบริโภคอาหารญี่ปุ่นและกระบวนการตอบสนอง AIDA MODEL ของร้านโคเอ็น ซูชิบาร์ในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญต่อกระบวนการตอบสนอง AIDA MODEL ต่ออาหารญี่ปุ่นของร้านโคเอ็น ซูชิบาร์ โดยรวมและทุกๆด้าน ได้แก่ ด้านความต้องการ ด้านการซื้อ ด้านความตั้งใจ ด้านความสนใจอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีพฤติกรรมภายหลังการบริโภคอาหารญี่ปุ่นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พฤติกรรมผู้บริโภค ได้แก่ ความถี่ในการบริโภคและค่าใช้จ่ายในการบริโภค มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมภายหลังการบริโภคอาหารญี่ปุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงในทิศทางเดียวกัน และ กระบวนการตอบสนอง AIDA MODEL ได้แก่ ด้านความตั้งใจ ด้านความสนใจ และด้านการซื้อมีผลต่อพฤติกรรมภายหลังการบริโภคอาหารญี่ปุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรดังกล่าวส่งผลร้อยละ 58.1 ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยนี้คือ ผู้ประกอบการธุรกิจการร้านอาหารสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผนหรือปรับปรุงการบริการเพื่อตอบสนองตามความต้องการของผู้บริโภคให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุดและกลับมาใช้บริการที่ร้านอาหารมากขึ้น |
Description: | MASTER OF BUSINESS ADMINISTRATION (M.B.A.) บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1131 |
Appears in Collections: | Faculty of Business administration for society |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs602130024.pdf | 2.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.