Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1079
Title: THE DEVELOPMENT OF ANESTHETIC FOR KOI CARP (Cyprinus carpio L.) USING MUGWORT (Artemisia vulgaris L.) OIL EMULSION
การพัฒนายาสลบสำหรับปลาแฟนซีคาร์ป (Cyprinus carpio L.) โดยใช้น้ำมันโกฐจุฬาลัมพา (Artemisia vulgaris L.) ในรูปแบบอิมัลชัน
Authors: KANTINAN RAKNAK
กันตินันท์ รักนาค
Nalena Praphairaksit
นลินา ประไพรักษ์สิทธิ์
Srinakharinwirot University. Faculty of Science
Keywords: น้ำมันโกฐจุฬาลัมพา ปลาแฟนซีคาร์ป ระบบนำส่งยา
Mugwort oil Koi carp Drug delivery system
Issue Date:  30
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: Fish are usually anesthetized before performing any activities in order to reduce the stress and injury rate, especially during surgery. However, most generally used fish anesthetics are chemical agents such as 2-phenoxyethanol (2-PE) causing some negative effects on fish and humans. Nowadays, herbal essential oils with a sedative property are widely used as an alternative way to anesthetize the fish. In this research, Mugwort (Artemisia vulgaris L.) essential oil (MT) was selected to evaluate the anesthetic efficacy. This research aimed to develop anesthesia emulsion from MT and evaluated the optimal concentrations of MT and MT emulsion to use as anesthetic agents for surgery on koi carp (Cyprinus carpio L.). The compounds in MT were detected by using gas chromatography-mass spectrometry (GC/MS). The results indicated that MT consisted of three active compounds including b-Pinene (11.7%), 1,8-cineole (10.34 %), and a-pinene (8.29%). The diameter of the emulsion droplets was 395.37 ± 10.81 nm. The optimal concentration for koi carp surgery with MT was 400 µl/L. In terms of mugwort oil emulsion, the optimal concentration was 10 ml/L. Moreover, Fish that received 400 µl/L of mugwort oil and 10 ml/L of the emulsion showed Lamella epithelial hyperplasia and swollen gill lamellae.
การทำสลบปลาก่อนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำศัลยกรรม มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถลดความเครียดและความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของปลาได้ โดยยาสลบปลาที่นิยมใช้โดยทั่วไปมักเป็นสารเคมีสังเคราะห์ เช่น 2-phenoxy ethanol (2-PE) ซึ่งก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อทั้งปลาและมนุษย์ เพื่อลดผลกระทบจากการใช้สารเคมีสังเคราะห์ การใช้น้ำมันหอมระเหยจากพืชที่มีฤทธิ์ชักนำการสลบในปลา จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยในการทำสลบปลา โดยงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยประยุกต์ใช้น้ำมันหอมระเหยจากต้นโกฐจุฬาลัมพา (Artemisia vulgaris L.) เป็นยาสลบสำหรับปลา โดยทำการตรวจสอบสารองค์ประกอบของน้ำมันโกฐจุฬาลัมพาด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี แมสสเปกโทรเมตรี (GC/MS) พัฒนาระบบนำส่งยาแบบอิมัลชัน ทำการประเมินระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมในการชักนำการสลบของน้ำมันโกฐจุฬาลัมพาและอิมัลชันน้ำมันโกฐจุฬาลัมพาในการทำศัลยกรรมปลาแฟนซีคาร์ป (Cyprinus carpio L.) และตรวจสอบพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อเหงือกและตับของปลาแฟนซีคาร์ปหลังได้รับน้ำมันโกฐจุฬาลัมพาและอิมัลชันน้ำมันโกฐจุฬาลัมพา ผลการวิจัยพบว่า น้ำมันโกฐจุฬาลัมพามีสารออกฤทธิ์สำคัญที่ชักนำให้เกิดการสลบ คือ b-Pinene (11.70 %) 1,8-cineole (10.34 %)  และ α-pinene (8.29%) อิมัลชันมีเส้นผ่านศูนย์กลางอนุภาค 395.37 ± 10.81 นาโนเมตร ความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการทำศัลยกรรมปลาแฟนซีคาร์ปของน้ำมันโกฐจุฬาลัมพา คือ 400 ไมโครลิตรต่อลิตร และอิมัลชันน้ำมันโกฐจุฬาลัมพา คือ 10 มิลลิลิตรต่อลิตร ผลการตรวจสอบพยาธิสภาพเนื้อเยื่อของปลาหลังได้รับน้ำมันโกฐจุฬาลัมพา 400 ไมโครลิตรต่อลิตร และอิมัลชันน้ำมันโกฐจุฬลัมพา 10 มิลลิลิตรต่อลิตร เป็นเวลา 10 นาที  พบว่า สารทดสอบทั้งสองชนิดส่งผลให้เกิดพยาธิสภาพในเนื้อเยื่อเหงือก ได้แก่ การเพิ่มจำนวนชั้นของเยื่อบุผิวและการบวมของ gill lamellae
Description: MASTER OF EDUCATION (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1079
Appears in Collections:Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611110160.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.