Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1050
Title: THE WISDOM STUDY OF MORLAM PERFORMANCE IN CASE OF UBON'S STORY TELLING MANNER, PETCH UBON BAND, UBONRATCHATHANI PROVINCE
การศึกษาภูมิปัญญาการแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองอุบลคณะเพชรอุบล จังหวัดอุบลราชธานี
Authors: JARUWAN SONGSERM
จารุวรรณ ส่งเสริม
Rawiwan Wanwichai
ระวิวรรณ วรรณวิไชย
Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts
Keywords: การแสดงหมอลำ
หมอลำเรื่องต่อกลอน
คณะเพชรอุบล
จังหวัดอุบลราชธานี
Mor Lam performance
Story-telling manner
Petch Ubon band
Ubonratchathani Province
Issue Date:  18
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research is a field study on Mor Lam performances in the Ubon Band, in the Faculty of Petch Ubon, Ubon Ratchathani Province, and high-quality researchers with opinions in the study of Morlam in terms of education and knowledge on Mor Lam and the Ubon Faculty of Petch Ubon. The results of the research found that the Mor Lam performance at the Kon Than Than Ubon Faculty of Petch Ubon was performed by a group that preserves the tradition of Mor Lam. This group is the only surviving group in Thailand, enabling researchers to study and collect knowledge systematically and disseminate knowledge of Mor Lam. The stories were based on the melodies of the poetry  of Ubon. However, the Petch Ubon Faculty has disappeared over time. It was established in 1975, with Mr. Chalard Songserm (Por. Chalard Noi) as the bandleader, as well as the four co-founders of the Petch Ubon group: (1) Mr. Duang wangSalun; (2) Mr. Jhom Srisuk (Boonmee Sri-ubon); (3) Mr. Suwan Timanont; and (4) Mr. Prayart Namsri, with the goal of establishing a group, Petch Ubon. In order to preserve the art and culture of the Mor Lam poetry performance and melodies, and to learn from the wisdom of Mor Lam, the subject of Konnlung Ubon in the Faculty of Phet Ubon in Ubon Ratchathani province and able to gather knowledge according to a theory of knowledge management used to organize information into a system as follows: (1) the history of the Petch Ubon Faculty; (2) the composition of the Mor Lam performance based on Petch Ubon poems, details of the elements that can be classified as in-depth information: 2.1 Performance style; 2.2 Clothes and makeup; 2.3 Musical instruments; 2.4 Performance stories; 2.5 Performance scenes; 2.6 Performance stages; 2.7 Performance opportunities; 2.8 Performance commissions. The researcher recorded and categorized important information in writing to create empirical data to preserve the art of Mo Lam performance on the poems of the Petch Ubon Faculty of Petch Ubon.
การศึกษาภูมิปัญญาการแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองอุบล คณะเพชรอุบล จังหวัดอุบลราชธานี ครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีความมุ่งหมายในการวิจัย เพื่อศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ของหมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองอุบล คณะเพชรอุบล จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นระบบ ผลการวิจัยพบว่า การแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองอุบล คณะเพชรอุบล เป็นคณะที่ยังคงอนุรักษ์ศิลปะการแสดงในแบบฉบับหมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองอุบล และเป็นคณะเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ในประเทศไทย จึงทำให้ผู้วิจัยได้ศึกษาและเก็บรวบรวมองค์ความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อไม่ให้องค์ความรู้ในการแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองอุบล คณะเพชรอุบล สูญหายไปตามกาลเวลา ซึ่งคณะเพชรอุบลได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยมีนายฉลาด ส่งเสริม (ป.ฉลาดน้อย) เป็นหัวหน้าคณะ และผู้ร่วมก่อตั้งคณะเพชรอุบลจำนวน 4 ท่าน คือ 1) นายดวง วังสาลุน 2) นายโจม ศรีสุข (บุญมี ศรีอุบล) 3) นายสุวรรณ ทิมานนท์ 4) นายประหยัด นามศรี โดยมีเป้าหมายในการก่อตั้งคณะเพชรอุบล เพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมการแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองอุบลให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น  จากการศึกษาภูมิปัญญาการแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอน ทำนองอุบล คณะเพชรอุบล จังหวัดอุบลราชธานี สามารถรวบรวมองค์ความรู้ตามกระบวนการทฤษฎีการจัดการความรู้เพื่อจัดข้อมูลให้เป็นระบบ ซึ่งสามารถจัดหมวดหมู่ข้อมูลสำคัญได้ดังนี้ 1.ประวัติความมาของคณะเพชรอุบล 2. องค์ประกอบของการแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอน คณะเพชรอุบล โดยมีรายละเอียดในองค์ประกอบที่สามารถจำแนกข้อมูลในเชิงลึกได้ดังนี้ 2.1) รูปแบบการแสดง 2.2) การแต่งหน้าและการแต่งกาย 2.3) เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง 2.4) เรื่องที่ใช้ในการแสดง 2.5) ฉากที่ใช้ในการแสดง  2.6) เวทีที่ใช้ในการแสดง 2.7) โอกาสที่ใช้ในการแสดง 2.8) การว่าจ้างการแสดง โดยผู้วิจัยได้บันทึกและจัดหมวดหมู่ข้อมูลสำคัญเป็นลายลักษณ์อักษรให้เกิดข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่ออนุรักษ์ศิลปะการแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองอุบล คณะเพชรอุบล ให้คงอยู่สืบไป
Description: MASTER OF EDUCATION (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1050
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591130244.pdf6.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.