Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1000
Title: A STUDY OF ONLINE HEALTH MEDIA PUBLISH BY THAI HEALTH PROMOTION FOUNDATION
การศึกษาสื่อสุขภาพที่เผยแพร่โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพผ่านสื่อออนไลน์
Authors: KAMONTHIP RATTANASUWANNACHAI
กมลทิพย์ รัตนสุวรรณาชัย
Prachaya Piemkaroon
ปรัชญา เปี่ยมการุณ
Srinakharinwirot University. College of Social Communication Innovation
Keywords: สื่อสุขภาพ
การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
ทฤษฎีการเล่าเรื่อง
Health media
Holistic health care
Narrative theory
Issue Date:  30
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objective of this research is to study the context and the elements of storytelling in communicating the health of the Thai Health Promotion Foundation (ThaiHealth) through online media. The population consisted of the online media that ThaiHealth used as health media through YouTube and SocialMarketingTH channel from 2012 to the present. There were a total of 102 stories, 1,742 files, divided into 15 categories, according to the classification on the Resource Center of the ThaiHealth. The sample group is the online media from SocialMarketingTH channel via YouTube, with one story in each category, with a total of 15 stories, selected from online media with the highest number of views for each category. Then, the content analysis, based on the dimensions of holistic health care in four dimensions, included body, mind, society and spirit, and the analysis of the elements of storytelling, based on Narrative Theory. The study found that the sample group told stories consisting of four dimensions of holistic health care and gave importance to the storytelling elements, in which the main character who committed the crime and the consequences of the offense using conflict analysis to deal with conflicts in the mind, between people and external conflicts. Also, giving importance to family-oriented character analysis and causing the consequences of actions, with special symbols that are images, the voice to tell the story and to make it interesting.
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท และองค์ประกอบของการเล่าเรื่อง ในการสื่อสารสุขภาพของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านสื่อออนไลน์ ประชากร คือ สื่อออนไลน์ที่ สสส. ใช้เป็นสื่อสุขภาพโดยผ่านทางยูทูป ช่อง SocialMarketingTH ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ถึง ปัจจุบัน จำนวน 102 เรื่อง 1,742 ไฟล์ แบ่งเป็น 15 หมวดหมู่ ตามการจัดหมวดหมู่บนคลังความรู้ของ สสส. กลุ่มตัวอย่าง คือ สื่อออนไลน์ จากช่อง SocialMarketingTH ผ่านทางยูทูป หมวดละ 1 เรื่อง รวมจำนวน 15 เรื่อง โดยคัดเลือกจากสื่อออนไลน์เรื่องที่มีจำนวนผู้เข้าชมสูงที่สุดในแต่ละหมวด จากนั้น วิเคราะห์เนื้อหาสุขภาพ (Content Analysis) ตามมิติการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม 4 มิติ ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ และ การวิเคราะห์องค์ประกอบของการเล่าเรื่อง ตามทฤษฎีการเล่าเรื่อง (Narrative Theory) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเล่าเรื่องที่สอดคล้องกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมทั้ง 4 มิติ และให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของการเล่าเรื่อง ซึ่งเป็นตัวละครหลักที่กระทำผิดและผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดนั้น มีการวิเคราะห์ความขัดแย้ง ทั้งความขัดแย้งภายในจิตใจ ความขัดแย้งระหว่างคนกับคน และความขัดแย้งภายนอก นอกจากนี้ ยังได้ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ตัวละคร ที่เน้นด้านครอบครัว ที่ทำให้เกิดผลที่ตามมาของการกระทำ โดยมีสัญลักษณ์พิเศษที่เป็นรูปภาพ ท่าทาง และการใช้เสียง เข้ามาเล่าเรื่อง ให้เกิดความน่าสนใจ
Description: MASTER OF ARTS (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1000
Appears in Collections:College of Social Communication Innovation

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs582130048.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.